activities
“เยอ แอ นา” (ฉันรักเธอ):
เรื่องราวสู่ละครชุมชน
นางสาวเบญจมาศ ไม้เกตุ, นายธรณ์ ทักษิณวราจาร,นายนรากร ปัญญาวรวุฒิ
จากเนื้อร้องข้างต้นขับร้องโดยผู้นำจิตวิญญาณประจำชุมชนบ้านแม่ออกฮู (ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม) ในการเก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ชาวค่ายอักษร - ศิลป์ ถอดความหมายจากเนื้อเพลงภาษาปกาเกอะญอเป็นภาษาไทย ต่อมาเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาสร้างงสรรค์เพื่อใช้ประกอบกับละครชุมชนสร้างสรรค์ ได้ดังต่อไปนี้
บทเพลง ซ่ะ เก่อ ยื่อ บะ (ถวิลหา)
ดนตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการส่งต่อเรื่องราว สามารถ จดจำได้ง่าย จากการใช้จังหวะและท่วงทำนองที่เป็นเหมือนกับ สัญลักษณ์ในบทเพลงที่ได้เรียนรู้ซึ่งพบว่า มีทั้งบทเพลงที่มีจังหวะ สนุกสนานหรือบทเพลงที่มีมีลักษณะอารมณ์เศร้าในจังหวะช้า ก่อนหน้านี้ชาวค่ายอักษร - ศิลป์ยังไม่ทราบความหมายจริงของ บทเพลง แต่เมื่อได้ทราบความหมายจากพ่อเฒ่าหลังจากที่พ่อเฒ่า ได้บรรเลงอีกครั้งหนึ่ง เสียงของบทเพลงนี้ยิ่งทำให้ปรากฏเป็นภาพ ชัดเจนมากขึ้น และยังสร้างความประทับอยู่ในใจของพวกเรา
พวกเราชาวค่ายพร้อมกับน้องนักเรียน ได้เรียนรู้ในหลาย บทเพลง ได้แก่ เพลงเตหน่า เพลงเดินทาง เพลงถวิลหา เป็นต้น ต่อมา จึงได้ให้น้องนักเรียนเลือกบทเพลงที่ตนเองประทับใจมากที่สุด เพื่อนำมาใช้ในการเล่าเรื่องราวผ่านบทละครชุมชน จากการสร้าง บทละคร นำไปสู่การสร้างจินตนาการของฉากโดยน้องนักเรียน จะช่วยกันร้อยเรียงเรื่องราว ตัวละครต่าง ๆ รวมถึงภาพบรรยากาศ ที่พวกเขาจินตนาการ และบทเพลงที่ช่วยกันประพันธ์ขึ้นเป็น ภาษาไทย ถอดความเดิมจากเพลงในภาษาปกาเกอะญอในการให้ ความหมายจากความเข้าใจของชาวค่าย โดยมีพี่ ๆ นักศึกษาร่วม กันช่วยขัดเกลาเนื้อหาบางส่วน น้องนักเรียนบางคนไม่มีโอกาสได้ เล่นดนตรี แสดงละคร หรือเต้น แต่น้องนักเรียนทุกคนมีความตั้งใจ และร่วมมือร่วมใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวจากกิจกรรมละครชุมชน สร้างสรรค์นี้ออกมาได้ดีมาก ๆ โดยในละครชุมชนสร้างสรรค์นี้ยัง ได้แฝงข้อคิดในการอนุรักษ์ผืนป่าอันเป็นที่รัก ป้องกันมิให้เกิดเหตุ ไม่ให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติดังที่ปรากฏอยู่ในบทละคร
ความท้าทายในการทำงานชุมชนในครั้งนี้ คือ ภาษาที่สื่อสาร ระหว่างพ่อเฒ่าแม่เฒ่ากับกลุ่มนักศึกษาเพราะพ่อเฒ่าแม่เฒ่าบาง ท่านไม่สามารถสื่อสารในการพูดภาษาไทยมากนัก แต่ยังเข้าใจ ความหมายอยู่บ้าง โดยในการแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจประเด็นหนึ่ง คือ น้องนักเรียนและคุณครูในโรงเรียนทำหน้าที่ในการช่วยสื่อสาร และแปลความหมายในระหว่างการดำเนินกิจกรรม