activities

Showcase:
การนำเสนอผลงานค่ายอักษร - ศิลป์ ปีที่ 2

รวิภาส เจริญวิวัฒน์ชัย, พีรพรรณ โกมุท, ณัฐธนาวุฒิ สุขดี28, อชิตะ ชยาศิสรัตนกร, ณัฐดนัย หวังวิวัฒนา


การดำเนินงานของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ในปีที่ 2 มีการผสมผสานงานด้านเทคโนโลยี การบันทึกภาพนิ่งและภาพวิดีโอตลอดจนการตัดต่อวิดีโอและเสียง นำโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นกำ ลังสำคัญในการเก็บข้อมูลที่ใช้ ต่อยอดในการทำงานสร้างสรรค์ โดยการดำเนินงานได้มีการวาง แผนการทำงานก่อนที่จะดำเนินการจริง ในด้านการใช้อุปกรณ์ สารสนเทศต่าง ๆ มีการระดมความคิดเห็นเรื่องปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งเมื่อลงไปยังพื้นที่ศึกษาจริงแล้ว สามารถ ลดปัญหาได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มากยิ่งขึ้น อีกทั้งในการดำเนินกิจกรรมของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ได้มีการหารือถึงปัญหาและสรุปภาพรวมกิจกรรมในแต่ละ วันเพื่อพูดคุยถึงปัญหาของแต่ละคนที่พบเจอ เพื่อจะนำไปใช้ใน การแก้ปัญหาในวันถัดไปได้

การบันทึกภาพถ่ายและวิดีโอตลอดการดำเนินกิจกรรม เพื่อนำมาประกอบการแสดง ประมวลภาพและวิดีโอของการ ดำเนินกิจกรรม โดยได้ฉายผ่านทางจอโปรเจ็คเตอร์ไปยังหน้าอาคารอเนกประสงค์ อักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ อีกทั้งยังใช้ประกอบ การแสดงในรายการอื่น ๆ อาทิ ละครชุมชนโดยได้นำภาพในพื้นที่ ในชุมชนแม่ออกฮู มาดัดแปลงและตัดต่อทำให้มีความสมจริง และเหมาะสมกับพื้นที่มากขึ้นโดยไม่ได้สูญเสียสาระสำคัญ ของวัฒนธรรมพื้นถิ่น

ภาพการดำเนินกิจกรรมที่ ผสมผสานกับภาพรอยยิ้มของ น้อง ๆ ผสานกับเสียงประกอบวิดีโอได้นำบทเพลง “จับมือมั่น” ซึ่งปัจจุบันเป็นบทเพลงประจำของโรงเรียน และเป็นบทเพลงที่ ยึดเหนี่ยวในการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ มา ตลอดสองปีที่ผ่านมา บทเพลงคุ้นหูของเด็ก ๆ รวมไปถึงบทเพลง พื้นถิ่นที่พวกเรานักศึกษาอาสา และน้องนักเรียนในโรงเรียนที่ได้ ศึกษาจากในชุมชน โดยถูกนำมาประกอบในวิดีโอ เพื่อให้ได้ อรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้น ในการดำเนินการครั้งนี้ แสดงให้ เห็นว่า ในทุกส่วนงานมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

จากการทำงานในครั้งนี้ พวกเราได้รับประสบการณ์ในการ ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ โดยทุกฝ่ายได้ใช้ทักษะความถนัดของแต่ละ คนในการทำงาน ถึงแม้ว่าเพื่อน ๆ อาสาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รู้จักเพียงไม่กี่วัน แต่ทำให้พวกเราได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่น จากคนในชุมชน ไม่ว่าพวกเราจะเหนื่อยแค่ไหน แต่เมื่อได้เห็น รอยยิ้มของน้อง ๆ มันทำให้เราหายเหนื่อยได้อย่างน่าอัศจรรย์ รอยยิ้มของน้องนักเรียนที่มีความสุขนี้ เปรียบได้กับดอกไม้ที่ได้ รับแสงแรกในยามเช้าทีเดียว

Showcase หรือการนำเสนอผลงานการจากการดำเนินการ ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 กิจกรรมเกิดจากการดำเนินงาน ในลักษณะของการปฏิบัติการกิจกรรมสร้างสรรค์ (workshop) ผ่านการใช้ทักษะของนักศึกษา ได้แก่ ทักษะทางภาษา ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทักษะทางดนตรี ของสถาบันดนตรี กัลยาณิวัฒนา ทักษะการใช้เทคโนโลยี ของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผนวกกับการพัฒนาทักษะใน ศตวรรษที่ 21 นำมารวบรวมความคิดเห็นและนำมาปรับใช้ใน การดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ผลของการดำเนินงาน ออกมาเป็น รูปธรรม และสามารถส่งต่อความเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่นจากคน

รุ่นเก่าไปยังคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้แก่ น้องนักเรียนในโรงเรียน และ พวกเรากลุ่มนักศึกษาอาสากลุ่มนี้อีกด้วย การสื่อสารในระหว่าง การดำเนินกิจกรรม ได้ใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อกลางในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชนกับบุคคล ภายนอกด้วย โดยทำให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนในระยะยาว ในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยมุ่งหวังให้เยาวชนใน ชุมชนได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนรัก และหวงแหนในรากวัฒนธรรมของตนเอง

การนำเสนอผลงานในครั้งนี้ มีการบันทึกภาพและเสียง ตลอด จนการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live เพื่อเผยแพร่การนำ เสนอผลงานของค่ายอักษร - ศิลป์ ในปีที่ 2 นี้ ซึ่งกิจกรรมการ แสดงประกอบไปด้วย

1. การแสดงดนตรีและบทเพลงขับร้องพื้นบ้านของพ่อเฒ่า แม่เฒ่าในชุมชนที่หาฟังได้ยาก ดังเช่น บทเพลงกล่อมเด็ก และ บทเพลงที่แสดงถึงวิถีในการดำเนินชีวิตฯ

2. การนำเสนอวิดีโอประมวลภาพตลอดการจัดกิจกรรม การดำเนินงานของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2

3. การบรรเลงไวโอลินของน้องนักเรียน ร่วมกับวงดนตรีของ พี่ ๆ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ในบทเพลง Twinkle Twinkle Little Star ประกอบการขับร้องบทเพลง “ABC Song” ที่ใช้ประกอบกิจกรรมในชั้นเรียนสร้างสรรค์ในด้านทักษะภาษา

4. การนำเสนอผลงานละครชุมชนสร้างสรรค์ จากเรื่องราว เรื่องเล่า และดนตรี ที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงานภาคสนาม (fieldwork) จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ ละครเรื่อง “เยอแอนา” (ฉันรักเธอ) และ ละครเรื่อง “แอ๊ะลอสะ” (ความรัก)

ก่อนค่ำคืนสุดท้ายของค่ายอักษร - ศิลป์จะจบลง พวกเรา ทุกคน ณ ที่นั่น ได้ร่วมกันร้องบทเพลงจับมือมั่นดังสนั่นโรงเรียน ก่อนที่น้ำตาแห่งความปิติยินดีปรากฏขึ้นครั้งหนึ่ง