activities

วงดนตรีค่ายอักษร - ศิลป์ #2 Music for Society Ensemble

กรวิชญ์ อนุนตการุณ


สำหรับค่ายอักษร - ศิลป์ครั้งนี้ จะให้ถือเป็นประสบการณ์ การทำงานดนตรี ที่ต้องอาศัยความเข้าใจในการเรียนรู้จากบริบท ของชุมชนสังคมมากขึ้น ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการในการสร้างสรรค์ งานดนตรีมากกว่ากิจกรรมในปีแรก โดยในที่นี้อาจสื่อความหมาย ว่าดนตรีต้องเตรียมตัวไปให้พร้อมมากขึ้น ในการจดบันทึกโน้ต จังหวะ รวมถึงเนื้อร้องที่ต้องอาศัยความเร็วในการทำงาน พร้อมกัน กับการใช้เทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าการเรียนรู้ดนตรีแบบมุขปาฐะนั้น จำต้องอาศัย ความชำนาญ รวมถึงการพยายามเข้าใจในสำเนียงพื้นถิ่น (dialect) เป็นโอกาสที่ดี ที่มีเพื่อนที่มีความชำนาญด้านทักษะภาษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้การช่วยเหลือในการสะกดออกเสียงคำ ให้ถูกต้องชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำงานผสมผสาน กับการใช้เทคโนโลยีในการบันทึกภาพเคลื่อนไหววีดิทัศน์ เพื่อให้ เรื่องราวมีความเปน็ ธรรมชาติและสอดคลอ้ งกับกิจกรรมของ ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ในปีนี้

เรื่องราวของวัฒนธรรมพื้นบ้านในชุมชน ทำให้ดนตรีทำหน้าที่ ในการสนับสนุนแนวคิดในการทำกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ เพื่อ สอดรับและสอดคล้องให้ได้ดีที่สุด

ความงามคงมิใช่เพียงแค่ดนตรีเท่านั้น แต่เป็นความงามที่เกิด จากการทำงานร่วมกันของแต่ละทักษะความชำนาญของชาวค่ายผ่าน สำนวนดนตรีที่แฝงความหมายลึกซึ้ง สามารถยืดหยุ่นและเป็นสะพานความคิดในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการส่งต่อวัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้านจากพ่อเฒ่าแม่เฒ่า สู่เด็กนักเรียนรุ่นใหม่ รวมถึง พี่นักศึกษาทุกคนอย่างแยบคาย อีกทั้งยังถือได้ว่าการทำงานดนตรี ในค่ายปีนี้เป็นกระบวนการอนุรักษ์เชิงคุณค่าที่เป็นรูปธรรมจับต้อง ได้มากขึ้น

สำหรับวงดนดนตรีของค่ายอักษร- ศิลป์เพื่อน้องในครั้งนี้ นอกจากนักศึกษาจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาแล้ว เรายังมีเพื่อน และพี่ ๆ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมร้องเพลงในการแสดง คอนเสิร์ตอักษร - ศิลป์ มีทีมงานบันทึกวีดิทัศน์ที่มีความชำนาญจาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และยังมีนักเรียนจากโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 มาร่วมฝึกซ้อมและ แสดงด้วย ทุก ๆ คน ก็ได้ช่วยกันทำงานกันอย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันแรก ที่พวกเราไปศึกษาดนตรีกับพ่อเฒ่าและแม่เฒ่าของหมู่บ้าน จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และสอนน้อง ๆ ในค่าย ช่วยกันคิดบทละคร จากวิถีชีวิตคนท้องถิ่น การฝึกซ้อมจนถึงการแสดงในวันสุดท้าย แม้กระทั่งการเก็บกวาดสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับการแสดงด้วย

ในด้านการทำงานอักษร - ศิลป์นั้นพวกเราทุก ๆ คนเริ่มต้นจาก จุดที่ไม่สามารถจินตนาการถึงการแสดงได้ด้วยซ้ำ ช่วยกันคิดทีละขั้น ตอน ใส่องค์ประกอบต่าง ๆ ลงไป ระหว่างทางก็เจออุปสรรคหลาย อย่าง การฝึกซ้อมบทละครนั้น ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง ชาวค่ายและน้อง ๆ ด้วย ทุกคนมีหน้าที่ที่เหนื่อยเท่ากันมีความสำคัญ เท่า ๆ กัน หากขาดคนร่วมแสดงแม้แต่คนเดียว งานแสดงอาจต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด จนถึงวันสุดท้ายที่พวกเราชาวค่ายและนักเรียน ช่วยกันจัดเวทีการแสดงกันอย่างแข็งขัน มีการทำงานร่วมกันอย่าง มีประสิทธิภาพ ใช้กำลังกาย กำลังใจ และความคิดที่มี จนกระทั่ง การแสดงของนักเรียนและชาวค่ายอักษร - ศิลป์ได้เสร็จสิ้นลงไป อย่างสมบูรณ์

พวกเรายังคงได้ใช้ทักษะในศาสตร์และศิลป์ในแขนงต่าง ๆ ที่่ชำนาญ ตั้งแต่การบันทึกเสียงการบรรเลงเพลงของพ่อเฒ่าแม่เฒ่า การใช้แปลเนื้อเพลงท้องถิ่น และการแปลทำนองโดยยังคงรักษากลิ่น อายของเพลงเดิมไว้ ยังมีการใช้เพลงในการให้ความรู้น้อง ๆ โดยให้ พี่ ๆ จากคณะศิลปศาสตร์เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีนักดนตรี บรรเลงเพลงเป็นสื่อในกิจกรรม การฝึกซ้อมการแสดงเองก็ต้องใช้ ความสามารถในการสื่อสารกับน้อง ๆ และดนตรีที่ใช้ต้องสามารถ สื่อสารกับทุก ๆ คนในกิจกรรมได้ด้วย เพื่อให้ทุก ๆ คนเข้าใจ การแสดงและอยากสร้างการแสดงออกมาให้ดีที่สุด

ในค่ายอาสานั้น ศาสตร์และศิลป์ไม่ได้ถูกใช้เพียงเพื่อแสดงว่า เรามีความสามารถในศาสตร์นั้น ๆ แต่ต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์ต่อทุก ๆ คนให้มากที่สุด ถึงแม้เราจะแสดงเทคนิค แพรวพราวให้ทุก ๆ คนได้ประจักษ์ว่าเราเก่ง แต่นั่นก็ไม่ได้ เกิดประโยชน์อะไรต่อเป้าหมายของกิจกรรม แม้กระทั่งการบรรเลง โน้ตง่าย ๆ คำพูดไม่กี่คำ หรือองค์ประกอบเล็ก ๆ หากโน้ตตัวนั้น คำพูดนั้น ๆ หรือองค์ประกอบนั้น ๆ อยู่ในจังหวะที่ดีมากพอ ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญได้