Articles
ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง : ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนมีsส่วนร่วม
อาจารย์ ดร.ศุภพร สุวรรณภักดี
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ครั้งแรกที่ได้ฟังนิสิตนักศึกษาจากค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง หารือในการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ผ่านความรู้และ ความถนัดจากวิชาชีพที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่นั้น ผู้เขียนในฐานะ กระบวนกรได้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ภายใต้กรอบความคิด การมีส่วนร่วมของผู้คน ชุมชน และสังคมที่นิสิตนักศึกษาร่วมกัน สร้างขึ้น นำไปสู่การค้นหาผลลัพธ์คำตอบที่เต็มไปด้วย “คุณค่า” และ “ความหมาย” จากการจัดวางองค์ประกอบของกิจกรรม โดยสร้างความสัมพันธ์ และกลไกทางความคิดที่มีความลึกซึ้ง
จากแนวคิดหลักของการดำเนินกิจกรรมค่าย ในครั้งนี้ คือการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คน ชุมชน และสังคม ซึ่งถูกกล่าว ถึงก่อนที่นิสิตนักศึกษาจะลงมือดำเนินกิจกรรมในพื้นที่โรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ ดังนั้นในการวาง รูปแบบของกิจกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแลให้กิจกรรม และกระบวนการอยู่ใต้กรอบความคิด รวมถึงกระบวนการ ต้องทำให้นิสิตนักศึกษาไม่รู้สึกประหม่าหรือเสียความมั่นใจ ในการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมภายในค่าย มุ่งสู่ความต้องการของ ชุมชน โดยใช้เสียงดนตรีในการดำเนินกิจกรรม เป็นสะพาน เชื่อมต่อ (transition) ในการพัฒนาความคิดของนักเรียน ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม
การปรับแผนงานในแต่ละวันที่นิสิตนักศึกษาที่ได้ร่วมกัน หารือเพื่อหาทางออก โดยปรับแผนการดำเนินกิจกรรมค่ายในวัน ถัดไป ที่นิสิตนักศึกษาพบข้อดีและข้อเสีย นำไปสู่การแก้ไขและ ปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมตลอดวันที่ผ่านมา บางประเด็น สามารถสรุปจบได้อย่างง่ายดาย บางประเด็นจำต้องนำไปสู่การ ลงคะแนนความเห็น ซึ่งอาจจะถูกใจใครบ้าง ไม่ถูกใจใครบ้าง แต่ทุกคนรู้จักยอมรับความคิดเห็นส่วนมาก อีกทั้งยังต้องแน่ใจ ว่าการดำเนินกิจกรรมยังคงอยู่ภายใต้กรอบความคิดของการให้ ผู้คน ชุมชน และสังคมมีส่วนร่วมซึ่งเป็นสาระสำคัญของการดำเนิน กิจกรรมเพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในวันรุ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นิสิตนักศึกษายังได้เปิดพื้นที่ให้น้องๆ นักเรียนได้มีโอกาส แสดงผลงานการแสดง ณ อาคารอักษร - ศิลป์ ในค่ำคืนวันสุดท้ายก่อนที่ค่ายจะจบลง นิสิตนักศึกษา ได้มีผู้ปกครองนักเรียนและ ชาวบ้านในชุมชนได้มีโอกาสได้ชื่นชมการนำเสนอผลงานจากการทำ กิจกรรมของพี่ๆ นิสิตนักศึกษา และนักเรียนตลอดระยะเวลาสามวัน ที่ค่ายอักษร - ศิลป์ได้ดำเนินขึ้นนี้ โดยได้ผลการตอบรับจากจำนวน ผู้ชมที่เกินความคาดหมายกว่าสองร้อยคน อีกทั้งเสียงหัวเราะและ เสียงปรบมือที่เป็นกำลังใจให้กับนิสิตนักศึกษาและนักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นการทบทวนกรอบความคิดของการดำเนิน กิจกรรมค่าย ให้กับนิสิตนักศึกษาอีกครั้งหนึ่ง และทำให้พวกเขาได้ เข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น
ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ในครั้งนี้จัดเป็นกิจกรรม สร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะแบบผู้คนมีส่วนร่วม และแสดง ให้เห็นว่านิสิตนักศึกษาสามารถสร้างมากกว่างานศิลปะโดยผนวก แนวคิดของการมีจิตอาสา ด้วยเหตุผล และมุมมองความคิดในเชิง คุณค่า นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่นด้วยมิใช่แค่รักตนเอง จากการอาศัยศิลปะในการจัดการ กลวิธีในการตั้งคำถามพร้อมกัน กับการแสวงหาคำตอบภายใต้คุณค่าจากการดำเนินกิจกรรม อีกทั้ง กระตุ้นให้ผู้คนที่เข้าร่วมได้เข้าใจดนตรีและศิลปะอย่างเป็นขั้นตอน ผนวกกับการมีความยืดหยุ่นบนพื้นฐานความคิดเพื่อปรับให้ เหมาะสมในระหวา่ งการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยการรับรู้ ทั้งกระบวนการการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ส่งผล ทำให้นิสิตนักศึกษามีความเข้าใจการทำงานในรูปแบบของการ บูรณาการแนวคิดทางดนตรีและศิลปะกับสังคมได้
จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนอีกมุมหนึ่งที่แสดง ให้เห็นว่าไม่เพียงแค่ชุมชนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนิน กิจกรรมสร้างสรรค์ นิสิตนักศึกษาเองได้เรียนรู้ชุมชนและพัฒนา ความคิดจากสิ่งเล็กๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นได้สร้างขึ้นในจิตใจให้แก่ ผู้คนในชุมชน อีกทั้งการมีมุมมองวิสัยทัศน์ในการทำงานค่ายอาสา ในมิติใหม่ๆ ที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษา ในฐานะผู้สร้างงานกับผู้คนในชุมชน จนเกิดเป็นการปฏิสัมพันธ์กันทั้ง สองฝ่ายอย่างชัดเจน