Articles
ปรากฏการณ์ “จับมือมั่น”
พงษ์เทพ จิตดวงเปรม
นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทเพลงจับมือมั่นยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของผม ที่เดินทางมาเป็นคณะทำงานจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ขณะเดียวกันผมซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจที่จะเรียนรู้หลายสิ่งจากค่าย ในครั้งนี้ ทั้งประเด็นความร่วมมือในการจัดทำค่ายร่วมกันระหว่างหลากหลายมหาวิทยาลัยซึ่งต้องผ่านกระบวนการพูดคุย วางแผน และประเด็นการตัดสินใจร่วมกันทั้งในส่วนของนิสิตนักศึกษาและ คณาจารย์ ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือกระบวนการกิจกรรมทาง ดนตรีและศิลปะที่มีส่วนอย่างยิ่งในการเข้าถึงหัวใจของเด็กนักเรียน ในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาทำกิจกรรมค่ายเพียงสามวัน
การดำเนินงานกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่ง จากการเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยความสนใจในวิธีการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้มองเห็นถึงการแบ่งหน้าที่ของแต่ละส่วนที่นักศึกษาและ คณาจารย์ได้มีส่วนร่วม การจับคู่หูหรือบัดดี้ของนิสิตนักศึกษา ต่างสถาบันเพื่อให้ดูแลซึ่งกันและกันตลอดการดำเนินกิจกรรมค่าย อาหารแสนอร่อยทุกมื้อจากคณาจารย์ และพี่ๆ ทีมสวัสดิการ อีก ทั้งสถานที่ถูกตระเตรียมไว้อย่างดีโดยครูใหญ่ของโรงเรียน รวม ทั้งการชว่ ยเหลือเปน็ อันดีจากคุณครูของโรงเรียนที่ส่งเสริมให้ กิจกรรมเชิงคุณค่าส่งต่อไปยังเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่จนสามารถ เรียกได้ว่าทุกฝ่ายมีความรู้สึกเป็นหนึ่งอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งทำให้ ทุกคนเกิดความประทับใจร่วมกัน
นอกจากนี้กิจกรรมค่าย ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แม้จะมีความคิดที่แตกต่างกันแต่ยังสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ เพื่อมอบสิ่งที่ดีมีคุณค่าและเป็นพลังขับดันการใช้ชีวิตให้ส่งผ่านไป ยังเยาวชนได้อย่างเต็มที่ราวกับการ “จับมือมั่น” จากผู้ที่มีส่วนร่วม ทุกฝ่ายไปสู่เยาวชน
ในวันแรกที่ค่ายอักษร - ศิลป์ ดำเนินกิจกรรม เด็กๆ พูดคุยกันอย่างสนุกสนาน พวกเขามักจะพูดภาษาปกาเกอะญอ กับเพื่อน และพยายามพูดภาษาไทยกับพวกเรา พร้อมกับใบหน้า ที่สดใสและเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เด็กๆ แต่งชุดพื้นเมือง บ้างใส่ เสื้อยืดและกางเกงขาสั้น วิ่งเล่นตามประสาเด็กๆ ส่วนใหญ่เด็กๆ เดินเท้ามาเรียนหนังสือ บางคนเดินมาหลายกิโล ผ่านป่าเขา เล่นเกมจับปู จับปลา จับสัตว์กันตามประสา
ก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรม เด็กๆมีความตื่นเต้นว่ามีอะไร เกิดขึ้น และคนนอกวัฒนธรรมเหล่านี้ที่เข้ามานั้นเป็นใครกัน โดยในช่วงแรกการสอนร้องเพลงต้องคอยอธิบายว่ารอให้พี่ ร้องก่อน แล้วน้องจึงร้องตาม ผ่านการสื่อสารจากการใช้จังหวะ ของดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกาย และการขานตอบอยู่ตลอดเวลา การทำกิจกรรมดำเนินไปจนถึงวันสุดท้าย ทุกคนเริ่มตอบสนอง กับกลวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ และสามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติไม่จำเป็นต้องพูด รวมถึงผลงานการประพันธ์เพลง โดยน้องๆ นักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมของการนำเสนอผลงาน ในค่ำคืนสุดท้ายก่อนที่จะจากกัน ท่วงท่าและเพลงของเด็กๆ ที่ถูก ช่วยกันขัดเกลามาโดยพี่กลุ่ม การฝึกซ้อมอย่างหนักพร้อมการเต้น ประกอบจังหวะ ทำให้ทุกคนเรียนรู้ และซึมซับในเรื่องของคุณค่า ทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น สถานที่สำหรับการแสดงที่พี่ๆ นิสิตนักศึกษา ได้จัดการปรับปรุงไว้อย่างสวยงาม อีกทั้งเด็กๆ แสดงให้เห็นถึงการ กล้าแสดงออกในการแสดงบทเพลงที่ได้ช่วยกันประพันธ์ขึ้น และผลงานศิลปะที่พวกเขาได้ทำขึ้นต่อหน้าผู้ชมที่เป็นคุณครู เพื่อนนักเรียน และชาวบ้านในบริเวณนั้นจนกระทั่งนำไปสู่การแสดง ในช่วงสุดท้าย
พวกเราได้ร่วมกันร้องเพลงจับมือมั่นกันอีกหลายรอบ ภาพบรรยากาศที่ซาบซึ้งใจได้ตราตรึงอยู่ในใจเด็กนักเรียนเหล่านั้น รวมถึงนิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม จนบางคนถึงกล่าวว่า ยังไม่อยากกลับบ้าน พร้อมกับถ่ายภาพความประทับใจกันแบบ ยืนน้ำตาซึม
สามวันที่แปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในความสัมพันธ์กัน ทางสังคมระหว่างผู้ดำเนินกิจกรรม และเยาวชนในบริเวณพื้นที่ การดำเนินกิจกรรมค่ายมีการพัฒนาไปสู่ความเป็นเพื่อนที่ดูแล เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน โดยมุ่งให้สำเร็จดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สุดท้ายข้าพเจ้าได้แต่หวังว่าปรากฏการณ์ “จับมือมั่น” ในคราวนี้ คงจะตราตรึงอยู่ในจิตใจของทุกคน และเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่จะ ส่งผ่านแนวคิดการดำเนินค่ายในลักษณะนี้สู่ผู้คนต่อไป