Articles
ห้องสมุด และกิจกรรม เสริมสร้างความตระหนักรู้ คุณค่าของหนังสือ
นางสาวธนิดา เลขะวัฒนะ
นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ห้องสมุดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ มากมาย ไม่เพียงแต่หนังสือภาพ หนังสือการ์ตูนภาษาอังกฤษ หรือแม้กระทั้งหนังสือประวัติศาสตร์ไทยเล่มใหญ่ ห้องสมุดของ โรงเรียนแห่งนี้มีหนังสือทุกประเภทซึ่งมากพอจะกลายเป็นห้องสมุด ของชุมชน แต่เพียงหนังสือเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในสภาพที่น่าอ่าน และสภาพห้องสมุดก็ไม่น่าเข้าใช้งานในเวลาว่างหรือพักตอน กลางวัน ทำให้กลุ่มนักศึกษาที่ไปสำรวจโรงเรียนได้นำปัญหา ดังกล่าวมาพูดคุยเพื่อหาวิธีการแก้ไขโดยให้ความสำคัญกับ ห้องสมุด นักเรียน และคุณครู ซึ่งเป็นผู้ใช้งานห้องสมุดรวมทั้งศึกษา พฤติกรรมการใช้ห้องสมุด
การจัดระเบียบห้องสมุดให้กลับมาน่าใช้อีกครั้งและทำให้ ผู้ใช้รู้สึกอยากเข้าห้องสมุดและตระหนักถึงการรักษาหนังสือนั้น เป็นเรื่องยากหากเราใช้บรรทัดฐานของผู้จัดทำเองเป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ฝา่ ยหอ้ งสมุดไดพู้ดคุยกับผู้อำวยการโรงเรียนถึงการใช้ห้องสมุดของนักเรียน และทราบว่าห้องสมุดนั้นมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ ค่อยเอื้ออำนวยต่อการอ่านหนังสือ อีกทั้งนักเรียนช่วงชั้นอนุบาลถึง ประถมศึกษาตอนต้นมีพฤติกรรมฉีกหนังสือ และไม่รักษาหนังสือ ให้อยู่ในสภาพที่ดีหลังการใช้งาน ฝ่ายห้องสมุดจึงพยายามแก้ไข ปัญหาและหาวิธีการที่จะบรรลุจุดประสงค์ โดยเริ่มต้นจากการ จัดระเบียบห้องสมุดใหมโ่ ดยใชร้ ะบบสีแทนระบบดิวอี้ แปะเทปสี ที่สันหนังสือและประเภทของหนังสือไวที้่ชั้นวางหนังสือ ต่อมาคือ การสร้างสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแนวคิดการรักษาหนังสือนั่นก็คือ กิจกรรม “หนังสือร้องไห้” ทั้งนี้น้องๆ ได้มีส่วนร่วมในการวาดภาพ หนังสือร้องไห้และออกมาอธิบายแนวคิดของภาพให้เพื่อนๆ ฟัง ซึ่งส่วนใหญ่จะอธิบายว่าหนังสือเจ็บเพราะโดนฉีกและถูกทิ้งตากฝน ไว้ข้างนอก สุดท้ายคือการแต่งเพลง “หนังสือ” โดยเนื้อเพลงมีความ หมายวา่ หนังสือคือเพื่อนของเรา สว่ นนี้ตอ้ งขอบคุณ ธนัฐสิทธ์ิ พรรณรายณ์ (ต้น) จากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ช่วยแต่ง เนื้อร้องที่เข้าใจง่าย และมีจังหวะที่ร้องตามได้ไม่ยากนัก
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่โรงเรียน เราพยายามพูดคุยกับ น้องๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดด้านการใช้งานห้องสมุดเพื่อที่จะให้ พวกเขาเข้าใจในวัถตุประสงค์ที่เราทำ เราพยายามวางระบบการจัด เก็บหนังสือที่เข้าใจง่ายที่สุด จัดห้องสมุดให้น่าใช้งาน โดยเพิ่มพื้นที่ นั่งหรือดูวีดิโอการ์ตูน รวมไปถึงการเพิ่มสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ อาทิ จิ๊กซอว์ แผนที่จังหวัดในประเทศไทย รูปวาดหรืองานศิลปะของน้อง ภายในห้องสมุดเพื่อให้รู้สึกว่าที่นี่คือห้องสมุดของพวกเขา วันที่น้องๆ เข้าห้องสมุดครั้งแรกหลังจากที่ปรับปรุงแล้วเสร็จนั้น ทำให้พวกเรา รู้สึกตื่นเต้น น้องๆ วิ่งมาหยิบหนังสือการ์ตูนขึ้นมาอ่าน มายืนชี้ จิ๊กซอว์ที่แปะไว้ หลังจากนั้นก็เก็บเข้าที่เดิมตามคำแนะนำในการใช้ ห้องสมุดจากพี่ๆ นักศึกษา
พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการปรับปรุงห้องสมุด แนวคิด หนังสือร้องไห้ และเพลงหนังสือจะถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของน้องๆ ซึ่งจะทำให้สิ่งเหล่านี้สามารถพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต