Articles

ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2
กิจกรรมดนตรีและศิลปะแบบ (คน) มีส่วนร่วม
สู่ความเข้าใจ (คน) ในชุมชน

อาจารย์ ดร.ศุภพร สุวรรณภักดี

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา


เรื่อง (เก่า) เล่าใหม่

เมื่อ พ.ศ. 2558 คณะกรรมการโครงการอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ ในความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดงานระดมทุนเพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 บ้านแม่ออกฮู ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยางจังหวัดตาก เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2558 โดยการต่อยอดงานวิจัยทางด้านภาษาปกาเกอะญอของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ อาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้แล้วทางโครงการอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดโครงการอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง และคณะ ได้เล็งเห็นถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้คนในชุมชนดังกล่าวอีกด้วย (งานแถลงข่าว)

ผู้เขียนในฐานะนักดนตรีคนหนึ่งอดพูดไม่ได้ว่าโครงการดังกล่าวมีบทเพลงอันไพเราะที่แสดงให้เห็นถึงนิมิตหมายที่ดีในการเริ่มดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ในระหว่างการระดมทุนนี้ ได้มีการประพันธ์บทเพลงขึ้นใหม่ จำนวน 2 บทเพลงเพื่อใช้เป็นการแสดงประกอบการระดมทุนเพื่อสร้างอาคารดังกล่าว จัดออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ทางโครงการฯ ได้รับเกียรติให้ประพันธ์เนื้อร้อง 2 บทเพลงใหม่ ได้แก่ บทเพลง “เทพรัตนการุญ” 4 ประพันธ์เนื้อร้อง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี อาจารย์ภาควิชา ภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขับร้อง ต้นฉบับโดย คุณธีรนัยน์ ณ หนองคาย (น้ำมนต์) ศิษย์เก่าคณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คุณภคมน บุณยะภูติ (ลูกโป่ง) ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื้อร้องได้แสดงให้เห็นถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสนพระทัยในด้านการศึกษาของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร อีกทั้งบทเพลงยังแสดงให้เห็นถึงพระจริยวัตรที่งดงามของพระองค์

อีกบทเพลงภายใต้ชื่อเพลง “จับมือมั่น”5 ประพันธ์คำร้องโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล เนื้อเพลงเข้าถึงผู้ฟังได้ง่าย แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศ และวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนบ้านแม่ออกฮู ขับร้องประสานเสียงโดยนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทั้งสองบทเพลงได้ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงดนตรีสำหรับวงดุริยางค์ซิมโฟนีออร์เคสตราโดย ดร.อโณทัยนิติพน อาจารย์ประจำสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี ทั้งสองบทเพลงได้บันทึกภาพและเสียง ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

(บรรยากาศการถ่ายทำบทเพลงเทพรัตนการุญ และบทเพลงจับมือมั่นเพื่อใช้ออกรายการพิเศษระดมทุนฯ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2558 ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา)

ค่ายอักษร - ศิลป์ ปีที่ 1 ดนตรีและศิลปะแบบผู้คนมีส่วนร่วม

ผู้เขียนได้มีโอกาสติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงแรก ทำให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการจวบจนปี พ.ศ. 2560 การก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ดังกล่าวแล้วเสร็จ ทางคณะกรรมการอักษร - ศิลป์ ได้มีมติเห็นควรให้อาคารดังกล่าว เป็นสถานที่ในการสร้างสรรค์ และการจัดกิจกรรมทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา -ธรรมศาสตร์ 3 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การริเริ่มกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 -13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ดำเนินงานโดยงานด้านกิจการนักศึกษาจาก 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยคัดเลือกนักศึกษาที่มีจิตอาสาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3เพื่อสร้างความตระหนักถึงกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

(ภาพถ่ายหมู่ นักเรียน นิสิตนักศึกษาจิตอาสา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1)

ทางด้านกระบวนการทำงานเน้นกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของนักศึกษาจิตอาสา เริ่มจากการจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านวัตถุประสงค์ โดยได้ผลลัพธ์ สร้างพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู นักเรียน และนักศึกษาจิตอาสา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกรอบคิดผ่านกิจกรรมที่เหมาะสม โดยมีคณาจารย์ด้านกิจการนักศึกษาเป็นกระบวนกร (facilitator) ให้คำปรึกษา และเสนอแนะแนวทางในการจัดการกรอบคิดเพื่อไม่ให้หลุดประเด็นของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ นำโดย รองศาสตราจารย์ ยุพิน โภคฐิติยุกต์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์เฉกสันต์ คังกะเกต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงตัวผู้เขียนจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำหน้าที่อำนวยการศิลป์(artistic curator) ให้การดำเนินกิจกรรมค่ายครั้งแรกนี้

กิจกรรมในค่ายฯ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่

1. การจัดระเบียบและระบบห้องสมุด นำโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาโดยจัดระบบแบบอิงสี (colour label) เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานแก่นักเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์ “หนังสือร้องไห้” เพื่อปลูกจิตสำนึกที่ดีในการดูแลรักษาหนังสือในห้องสมุด โดยดำเนินการร่วมกับนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

2. การปรับปรุงห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล นโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยได้วาดภาพสัตว์นานาชนิดเพื่อเสริมสร้างจินตนาการแก่นักเรียน รวมถึงกิจกรรมประดิษฐ์หุ่นยนต์จากขยะ

3. กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ นักศึกษาจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้ประพันธ์เพลงเพื่อส่งเสริมสุขลักษณะที่ดีในเรื่องของการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ผ่านบทเพลง “ล้างมือ”ซึ่งเป็นหนึ่งในความต้องการของโรงเรียน อีกทั้ง การประพันธ์เพลงของนักเรียนในโรงเรียนโดยได้ร่วมกันเล่าเรื่องจากวิถีการดำเนินชีวิตสภาพแวดล้อม และบทสนทนา ผ่านการเล่าเรื่องเป็นบทเพลงทั้งภาษาไทยและภาษาปกาเกอะญอ

กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาได้ถูกนำมาจัดวางเพื่อนำเสนอผลงานให้กับคณะครู ผู้ปกครอง และชาวบ้านแม่ออกฮู ในค่ำคืนสุดท้ายก่อนที่การดำเนินกิจกรรมค่ายฯ จะจบลง โดยได้รับความสนใจจากผู้ชมในชุมชนจำนวนมาก

จากการศึกษาพบว่า การดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 1 ชี้ให้เห็นว่ามี 2 มุมมองที่พบ ได้แก่ นักเรียน ในชุมชนได้ประโยชน์จากกิจกรรมค่าย และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอกับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรรม รวมถึงนักศึกษาได้เรียนรู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ผ่านการเข้าใจจากความมีจิตอาสามากขึ้น

จากการดำเนินงานค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 นี้ สามารถ ถอดบทเรียนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การศึกษาการดำเนินกิจกรรมค่ายอาสาที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีและสอดคล้องกับทักษะได้ดังต่อไปนี้ ดังภาพ

แผนภาพแสดงกระบวนการดำเนินกิจกรรม ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1

คณาจารย์ในค่ายฯ ทำหน้าที่เป็นกระบวนกรในการกำกับดูแลและให้คำปรึกษาในการดำเนินกิจกรรม ให้เกิดความสมดุลย์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม โดยสามารถสรุปกระบวนวิธีการดำเนินงานเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. การประชุมหารือของนักศึกษาจิตอาสา (meeting)

2. การบริหารจัดการค่ายฯ (camp conducting)

3. การจัดกิจกรรมภายในค่าย (workshops) และ

4. การนำเสนอผลงาน (showcasing)

 

จากกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอน นักศึกษาจิตอาสาเป็นผู้ดำเนินการภายใต้การให้คำปรึกษาของคณาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นกระบวนกร โดยการสรุปผลรายงานการดำเนินงานในลักษณะของการถอดบทเรียน (lesson learned) ทั้งนี้ได้จัดทำเป็นเว็บไซต์เพื่อสะดวกต่อการสืบค้นในระบบเครือข่ายสารสนเทศ ดู www.pgvim.ac.th/aksornsilpa เพื่อใช้เผยแพร่องค์ความรู้ในการพัฒนาให้เกิดผลกระทบในการบริหารจัดการค่ายอาสาที่ใช้ดนตรีและศิลปะเป็นเครื่องมือในการดำเนินการให้เป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

จากการอภิปรายผลจากการนำเสนอแนวคิดการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ โดย รองศาสตราจารย์ ยุพินโภคฐิติยุกต์ และผู้เขียน ในการประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านดนตรี ปีที่ 5 ในหัวข้อดนตรีกับการพัฒนาสังคม จัดโดยสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (5th Princess Galyani Vadhana International Symposium, Music and Socio-Cultural Development of ASEAN, Subtheme Music and Methamophosis) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ได้มี การตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วม รับฟังในด้านการพัฒนากิจกรรมให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยมีคำถามในลักษณะปลายเปิด ดังต่อไปนี้

Christ Billy Aryanto และ Weny Savitry S. Pandia ได้สนับสนุนแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมในลักษณะของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ โดยเห็นว่าเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านดนตรีและทักษะที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาที่เข้าร่วมไปใช้ประโยชน์ ควรได้รับการสนับสนุน

อาจารย์ รัศมี เผ่าเหลืองทอง ได้ให้ความเห็นว่า เป็นกิจกรรมที่น่าชมเชยในการทำงานกับชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องของความยั่งยืน (sustainabilty) ของกิจกรรมค่าย เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรม และความต่อเนื่องในการพัฒนาเยาวชน

อาจารย์ อานันท์ นาคคง ได้ตั้งข้อสังเกตว่ากิจกรรมดำเนินอยู่ในพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นสูง แต่ยังไม่เห็นถึงกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับผู้คนในชุมชนมากนัก นอกจากในช่วงของการนำเสนอผลงานที่มีผู้ชมจากชุมชนเข้าร่วมเท่านั้น โดยเสนอแนะให้เกิดการมีส่วนร่วมกับผู้คนในชุมชน โดยอาจารย์อานันท์ เชื่อว่าในพื้นที่มีวัฒนธรรมดนตรีพื้นถิ่น และบทเพลงพื้นบ้าน ควรลงไปศึกษาในตัวพื้นที่ให้มากขึ้น

จากข้อเสนอแนะและข้อสังเกตดังที่ได้รับฟังเป็นมิติที่ยังไม่พบในการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 โดยจะนำไปพัฒนาปรับปรุง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาแนวความคิดและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่คณะทำงานทั้งคณาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและนักเรียนในพื้นที่ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 


รับเสด็จฯ เปิดอาคารอเนกประสงค์

(ทรงพระกรุณาฉายพระรูปหมู่ร่วมกับคณะอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารอเนกประสงค์ “อักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนและนิสิตนักศึกษา รวมถึงนักวิจัยที่จะเข้ามาบำเพ็ญประโยชน์ออกค่ายพัฒนา ทำงานเก็บข้อมูลวิจัย และบูรณาการการเรียนการสอน โดยได้ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรผลงานจากค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 จากการนำเสนอผลงานบางส่วนจากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงทอดพระเนตรการแสดงบางส่วนจากการดำเนินงานกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1)

ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2:
คน ชุมชน ส่งต่อวัฒนธรรมพื้นถิ่นสู่คนรุ่นใหม่

เมื่อครั้นผู้เขียนได้ทราบข่าวจาก รองศาสตราจารย์ ยุพิน โภคฐิติยุกต์ ทางโทรศัพท์ว่า “ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 จะมีอีกเมื่อไหร่ ตอนนี้ทางผู้ใหญ่ได้อนุมัติให้การสนับสนุนกิจกรรมต่อเนื่องและสามารถดำเนินการได้แล้ว” เวลานั้นผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นและทำให้หวนคิดถึงภาพบรรยากาศความสุขในปีที่ผ่านมาในทันที

จากจุดเริ่มในวันนั้น จึงเกิดการวางแผนงานร่วมกับอาจารย์ยุพิน และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา โดยได้หารือถึงช่วงเวลาที่สามารถดำเนินการ

จัดกิจกรรมได้สะดวกในปีนี้ รวมถึงการอภิปรายผลการดำเนินงานของปีที่ 1 ให้นักศึกษาทราบด้วย เพื่อระดมความคิด และแนวทางในการพัฒนาค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ซึ่งจะมีความท้าทายมากยิ่งขึ้นในการลงภาคสนามไปทำงานร่วมกับผู้คนในชุมชน

(ประชุมเตรียมงานค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา)

แนวคิดค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2
มโนทัศน์ความเป็นจิตอาสา

จากแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ในปีแรกที่กล่าวถึงการใช้ดนตรีและศิลปะสร้างสรรค์แบบผู้คนมีส่วนร่วม โดยใช้ดนตรีเป็นสะพาน (transition) ในการเชื่อมต่อการพัฒนาความคิดของนักเรียนในพื้นที่ที่ศึกษานั้น ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานจากแนวทางในการดำเนินกิจกรรมค่าย อักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 แนวคิดจากการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับนักเรียนในโรงเรียนและนักศึกษาจิตอาสา เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน และส่งต่อแนวคิดสู่คนรุ่นใหม่อย่างแยบคาย เป็นประเด็นที่ท้าทายในการดำเนินงานของนักศึกษาจิตอาสาที่มีทักษะที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของทักษะทางด้านภาษาทักษะทางดนตรี และทักษะการใช้เทคโนโลยี

การสร้างนักศึกษาให้มีความเป็นจิตอาสาเหล่านี้ มีความจำเป็นต้องเข้าใจทักษะศตวรรษที่ 21 เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ จากแนวคิดที่ได้ตั้งไว้ สู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงลึกมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้รวมถึงนักศึกษาจิตอาสาสามารถถ่ายโอนความรู้ดัดแปลง และสร้างสรรค์สิ่งที่เรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์และปัญหาใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณาจารย์ในการสร้างความเชื่อมโยงความรู้ในสิ่งที่เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้มาจนนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต้องลงมือปฏิบัติและพัฒนากรอบคิด เพื่อต่อยอดความรู้เดิมที่มีกับการประยุกต์ ให้เกิดงานสร้างสรรค์และส่งผลกระทบที่เป็นวงกว้างต่อไป

สมมติฐานและทฤษฎีดังกล่าวนี้ นำไปสู่การสร้างการประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2 จะดำเนินไปโดยผู้เขียนได้ออกแบบการอบรมเพื่อให้นักศึกษาได้ระดมความคิดถึงทักษะที่แต่ละคนมี สู่การออกแบบกิจกรรมในวันและเวลาที่เหมาะสม บนพื้นฐานของความยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ นักศึกษาที่เข้าร่วมประชุมมีทั้งรุ่นที่ 1 ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรมมาในปีก่อนคละเคล้าร่วมกับรุ่นที่ 2 ที่มาพร้อมกับความมีจิตอาสาอย่างเต็มเปี่ยม

(การประชุมเชิงปฏิบัติการกับนักศึกษาจิตอาสาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา)

จากความท้าทายที่ต้องทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น โดยเปลี่ยนมิติการทำงานจากค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 1 นักศึกษาได้เสนอแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

1. การจัดทำละครชุมชน (community theatre) จากการศึกษาเรียนรู้ จากวัฒนธรรมพื้นบ้านในพื้นที่ นำมาประยุกต์และพัฒนาเป็นละครชุมชน เพื่อสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านในรูปแบบของงานสร้างสรรค์

2. การศึกษาเพลงของชาวปกาเกอะญอผ่านแนวคิดการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม13 เพื่อเรียนรู้ผ่านการจดบันทึก ทั้งการบันทึกภาพและเสียง เพื่อให้บทเพลงพื้นบ้านได้ถูกส่งต่อไปยังนักเรียนรวมถึงคนในชุมชน เป็นการคงไว้ซึ่งคุณค่าและความหมายทางวัฒนธรรม

3. กิจกรรมฝึกสอนภาษาอังกฤษ โดยมีดนตรีเป็นเครื่องมือในการบูรณาการความรู้ทางด้านภาษาในแก่นักเรียน

เมื่อได้ขอบเขตในการดเนินงานจากการประชุมแล้ว จึงกำหนดระยะเวลาการดเนินงานในแต่ละกิจกรรมเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังสามารถกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลได้เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและราบรื่น

ก่อนออกเดินทาง

ก่อนออกเดินทางไปยังที่หมาย ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 จังหวัดตาก ได้ทราบข่าวจากทางมูลนิธิอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานไวโอลินให้แก่โรงเรียน จำนวน 2 เครื่อง โดยครูใหญ่ ดาบตรี บรรดล เมืองมูล ได้ขอให้คณะอาจารย์ที่ออกค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 นี้ ให้ความกรุณาช่วยฝึกสอนนักเรียนด้วย

ออกเดินทาง เส้นทางแห่งการเรียนรู้และเข้าใจ (ชุมชน)

กิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่20 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ชาวค่ายมีทั้งหน้าใหม่เป็นส่วนมากรวมถึงหน้าเก่า ๆ บางคน ทำให้การเดินทางมีสีสันและคึกคักตลอดระยะทาง การดำเนินกิจกรรมค่ายในปีนี้ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น เนื่องจากในปีแรกของการดำเนินกิจกรรมเปรียบกับการเริ่มต้นรู้จักโรงเรียน นักเรียน และชุมชน ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้ เกิดการต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อนำไปสู่กิจกรรมสร้างสรรค์ในปีที่ 2 นี้

การสำรวจชุมชนเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดขึ้น โดยมีนัยยะในการให้ชุมชนส่งต่อวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่เยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการดำเนินกิจกรรมในด้านการพัฒนาความคิดผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีลักษณะสร้างสรรค์ การทำงานจึงเกิดการวางแผนงานและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการก่อนการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงดังนั้น คำถามเป็นร้อย ๆ คำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการวางแผนงานจึงจะเกิดการคลี่คลายเมื่อนักศึกษาได้เห็นภาพจริงในพื้นที่จริง

การสำรวจชุมชนเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้การเรียนรู้ของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดขึ้น โดยมีนัยยะในการให้ชุมชนส่งต่อวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่เยาวชนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการดำเนินกิจกรรมในด้านการพัฒนาความคิดผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีลักษณะสร้างสรรค์ การทำงานจึงเกิดการวางแผนงานและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการก่อนการจัดกิจกรรมในพื้นที่จริงดังนั้น คำถามเป็นร้อย ๆ คำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการวางแผนงานจึงจะเกิดการคลี่คลายเมื่อนักศึกษาได้เห็นภาพจริงในพื้นที่จริง

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 นี้ประกอบไปด้วย

1. กิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมภาคสนาม ซึ่งมุ่งเน้นไปในเรื่องนิทาน ตำนาน เรื่องเล่า และดนตรีในชุมชนแม่ออกฮู ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อเฒ่า แม่เฒ่าในชุมชน ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมปกาเกอะญอ ณบ้านแม่ออกฮู รวมถึงคณะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา- ธรรมศาสตร์ 3 ที่คอยช่วยประสานงานให้กิจกรรมมีความราบรื่น

2. การนำองค์ความรู้จากการออกภาคสนามของชาวค่าย ณ บ้านแม่ออกฮู มาคิดวิเคราะห์ เพื่อใช้ในกิจกรรมสร้างสรรค์ของค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ซึ่งนำไปสู่การแสดงละครชุมชน ได้แก่ละครเรื่อง แอ๊ะลอสะ (ความรัก) และเยอแอนา (ฉันรักเธอ) ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ

3. กิจกรรมฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยเปลี่ยนห้องเรียนให้มีความน่าสนใจโดยผนวกดนตรีเพื่อ ใช้ในการประกอบจังหวะการร้องและผสมผสานกับการบรรเลงไวโอลินของนักเรียนในโรงเรียน

4. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้กับคณะครูตำรวจตระเวน ชายแดนที่เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อจัดการศึกษาแก่นักเรียน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 รวมถึง ชุมชนผ่านบทเพลง Danny Boy ที่เรียบเรียงเนื้อร้องสำหรับ การขับร้องสามภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย (บทเพลงตำรวจ ตระเวนชายแดน) และภาษาปกาเกอะญอ จากการแปลความหมาย ภาษาอังกฤษเปน็ ภาษาไทย นำ ไปสู่การตคี วามให้สอดคล้องกบั ชุมชน แม่ออกฮู โดยนักเรียนและพี่ ๆ นักศึกษา

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสำหรับการจัดทำวิดีโอประมวลภาพกิจกรรม รวมถึงการถ่ายทอดสด การแสดงละครชุมชนผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ (Facebook Live) ในค่ำคืนสุดท้ายของการนำเสนอผลงานค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2

จากการดำเนินงานกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 214 นี้พบว่า กิจกรรมในค่ายมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง นักศึกษาแต่ละสถาบันการศึกษา แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน การลดทอนกำแพงกั้นระหว่างทักษะ ความชำนาญสู่การแบ่งปัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินกิจกรรม อีกทั้งมิติใน การเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากชุมชน สามารถใช้เป็นองค์ประกอบ สำหรับการทำงานสร้างสรรค์ที่มุ่งประเด็นในการเสริมสร้างสุขภาวะ ทางใจให้กับชุมชน นักเรียน และคณะครูในโรงเรียน ซึ่งเห็นได้จาก การมีปฏิสัมพันธ์ของคนจำนวนมากในชุมชนที่เข้าร่วมในการนำเสนอ ผลงานจากการดำเนินงานอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2