Articles

บทวิเคราะห์ ภาพสะท้อนในการจัดค่ายอักษร - ศิลป์

ศักดิ์ระพี รักตประจิต, อาจารย์ ดร.ศุภพร สุวรรณภักดี


ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือของนิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันดนตรี กัลยาณิวัฒนา ซึ่งสานต่อแนวคิด และกระบวนการดำเนินงาน ของกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา การสร้างสรรค์ และหยิบยื่นโอกาสทางการเรียนรู้ในรูปแบบ สร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของ คนในชุมชนให้กลมกลืนและสอดรับกับบริบททางชุมชน อีกทั้ง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

กิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้วางแผน และจัดประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดขอบเขตการจัดกิจกรรมให้สานต่อ การดำเนินงานในปีที่ผ่านมา โดยแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และ ความเข้าใจร่วมกันในแต่ละส่วนของนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ ที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อกำหนดรูปแบบ แนวทาง และกระบวนการ จัดกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ที่ผ่านการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากิจกรรมให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การสานต่อกระบวนการ และองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้แก่เด็ก ๆ ในชุมชนของกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ประกอบ ด้วยการพบปะพูดคุยเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน ซึ่งเปรียบ เสมือนการเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น เพื่อนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดี ร่วมกันที่จะสานต่อความร่วมมือร่วมใจในการจัดกิจกรรมให้เกิด ความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การสำรวจสภาพวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และศึกษาความต้องการของคนในชุมชน ผ่านการ สังเกต และการแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมองร่วมกันของผู้จัดกิจกรรม เพื่อเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และ ส่งเสริม แต่งเติม และสร้างสรรค์องค์ความรู้ให้แก่เด็ก ๆ ในชุมชน นอกจากนี้ การศกึ ษาต่อยอดองค์ความรู้จากชมุ ชน เป็นกระบวนการ สำคัญสำหรับการบูรณาการศาสตร์ทางด้านทักษะทางภาษา ทักษะ ทางดนตรี รวมถึงทักษะทางด้านเทคโนโลยีให้เข้ากับองค์ความรู้ ภายในชุมชน นำมาซึ่งการร้อยเรียง เชื่อมต่อกัน เพื่อรังสรรค์เป็น บทละครที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของคน ในชุมชนบ้านแม่ออกฮู ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ที่ถูกถ่ายทอด ออกมาเป็นภาพสะท้อนในรูปแบบของละครชุมชน รวมถึงกิจกรรม สร้างสรรค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

จากการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 การประเมินผลกิจกรรม จัดทำโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 90 คน โดยมีผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 ประกอบด้วย กลุ่มเด็ก ๆ ในชุมชน และกลุ่มคุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 กลุ่มนิสิต นักศึกษา จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จำนวนโดยสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

กลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นการประเมิน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพึงพอใจ
กลุ่มนักเรียนและคุณครู ประกอบด้วย รูปแบบการจัดกิจกรรม ระยะเวลา ที่ใช้ในกิจกรรม ด้านเนื้อหา และความรูที้่ได้รับ การปลูกฝังจิตสำนึก การพัฒนาทักษะปฏิบัติ ต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และ
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
4.61 0.54 ระดับมากที่สุด
กลุ่มนิสิตนักศึกษา ประกอบด้วย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของ กิจกรรม การจัดการและการบริการที่ได้รับ 4.47 0.75 ระดับมาก
กลุ่มคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย การปฏิบัติตนในฐานะอาสาสมัคร ความรับผิดชอบ และประสิทธิผลของการปฏิบัติกิจกรรม 4.40 0.54 ระดับมาก
  ภาพรวมความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4.49 0.61 ระดับมาก
         

จากตารางข้างต้นสรุปได้ว่า ภาพรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61) ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ กลุ่มนักเรียน และคุณครู มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54)

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ได้ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ดังนี้

กลุ่มนักเรียน ต้องการให้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น จัดกิจกรรมร้องเพลง การเล่นเกมสันทนาการ กิจกรรมการแสดง การเต้นประกอบจังหวะ และการให้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การสอนปฏิบัติเครื่องดนตรี และการเล่น กีฬา เป็นต้น และกลุ่มคุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 เสนอแนะให้จัดกิจกรรมพัฒนาครูผู้สอน ในด้านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ และการควบคุม ชั้นเรียน เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กลุ่มนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ข้อเสนอแนะต่อกิจกรรม ค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 ดังนี้ ควรเพิ่มระยะเวลาการจัด กิจกรรมมากขึ้น เป็นหนึ่งสัปดาห์ กิจกรรมควรมีรูปแบบการให้ความรู้ หรือสอนนักเรียน ในรูปแบบที่หลากหลาย ควรมีกิจกรรมที่ ทำร่วมกับชุมชน หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

กลุ่มคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ข้อคิดเห็น ว่ากิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ ปีที่ 2 เป็นกิจกรรมที่มี ประโยชน์ต่อกลุ่ม นักเรียนในโรงเรียน คุณครู และกลุ่มนิสิต นักศึกษาอย่างมาก เนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ จากประสบการณ์ภาคสนาม ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมกัน นำไปสู่การสานต่อความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม ท้องถิ่น วิถีชีวิต สภาพสังคม

นอกจากนี้ การนำองค์ความรู้ทางด้านดนตรีมาเป็นสื่อกลาง ในการสื่อสาร การนำไปร้อยเรียงร่วมกับพื้นฐานแนวคิดวิถีชีวิต ของคนในชุมชน และการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วม กิจกรรม สะท้อนให้เห็นว่า กิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้องฯ เป็นค่ายที่มีแนวคิด กระบวนการปฏิบัติที่มากกว่าการสร้าง สิ่งปลูกสร้าง การบริจาค การความให้ช่วยเหลือ แต่เป็นค่ายที่ มุ่งหมายให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่า วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ของตนเอง

จากวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ เพื่อน้อง ปีที่ 2 มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม มากขึ้น ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักศึกษาอาสา นักเรียน และคณะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จุฬา - ธรรมศาสตร์ 3 รวมถึงชาวบ้านมากขึ้น นำไปสู่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของชุมชน กับชาวค่ายอักษร - ศิลป์ อย่างเห็นได้ชัด

กิจกรรมภายในค่ายมีการบูรณาการแนวคิด วิธีการดำเนินงาน ร่วมกันระหว่างนักศึกษาอย่างชัดเจน เห็นได้จากการดำเนินกิจกรรม ที่ต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ทั้งทางด้านทักษะทางภาษาของ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทักษะทางด้าน ดนตรีของนักศึกษาของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา รวมถึงทักษะ การใช้เทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโลโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้สอดคล้อง กับทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน การดำเนินงานที่มี ความซับซ้อนให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น และสามารถ นำความรู้จากคนรุ่นเก่าที่ผ่านการส่งต่อถ่ายโอนไปยังคนรุ่นใหม่ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ผ่านการประยุกต์กระบวนการ ดำเนินงานสร้างสรรค์ และสร้างความน่าสนใจในกิจกรรมของ ค่ายอักษร - ศิลป์ ปีที่ 2 นี้ จากกรอบความคิดที่ตั้งไว้

ในการดำเนินกิจกรรมค่ายอักษร - ศิลป์ ในปีที่ 3 ควรมี การพัฒนาในด้านการสร้างรายได้เพื่อเศรษฐกิจของชุมชน โดยการ ศึกษาเบื้องต้นพบว่าพื้นที่ดังกล่าว มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่น่าสนใจ อาทิ ผ้าทอปกาเกอะญอ รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สามารถพัฒนา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและไม่สูญ เสียสาระสำคัญของความเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนา กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับเยาวชนในพื้นที่ต่อไป