image01

ดาวน์โหลด : เพลงแสงเทียน

เพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2498 ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราชได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ (ขณะดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์) นิพนธ์คำร้องภาษาไทย แต่เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแก้ไขทำนองและคอร์ดบางตอน จึงยังไม่โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้นำออกมาบรรเลงในเวลานั้น ต่อมา ได้พระราชทานให้นำออกบรรเลงครั้งแรก พ.ศ.2490 และใน พ.ศ.2496 นางสาวสดใส วานิชวัฒนา (รองศาสตราจารย์สดใด พันธุมโกมล) ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ

เพลงแสงเทียน
(Candlelight Blues)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

จุดเทียนบวงสรวงปวงเทพเจ้า
สวดมนต์ค่ำเช้าถึงคราวระทมทน
โอ้ชีวิตหนอล้วนรอความตายทุกคน
หลีกไปไม่พ้นทุกข์ทนอาทรร้อนใจ
ต่างคนเกิดแล้วตายไป
ชดใช้เวรกรรมจากจร

นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยงเสี่ยงบุญกรรม
ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน
เชิญปวงเทวดาข้าไหว้วอน
ขอพรคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
หนีปวงโรคาที่เบียดเบียน
แสงแววชีวาเปรียบแสงเทียน

เปรียบเทียนสิ้นแสงยามแรงลมเป่า
ชีพดับอับเฉาเหมือนเงาไร้ดวงเทียน
จุดเทียนถวายหมายบนบูชาร้องเรียน
โรคภัยเบียดเบียนแสงเทียนทานลมพัดโบย
โรครุมเร้าร้อนแรงโรย
หวนโหยอาวรณ์อ่อนใจ

ทำบุญทำทานกันไว้เถิดเกิดเป็นคน
ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่
เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด
ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า
ทนทรมานมามากแล้วจะกราบลา
แสงเทียนบูชาจะดับพลัน
แสงเทียนบูชาดับลับไป

ดาวน์โหลด : เพลงยามเย็น

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ ให้นายเอื้อ สุนทรสนาน นำออกบรรเลง ในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรก ที่นำออกบรรเลงสู่ประชาชน เป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใส เหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที

เพลงยามเย็น
(Love at Sundown)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

แดดรอนรอน
เมื่อทินกรจะลับเหลี่ยมเมฆา
ทอแสงเรืองอร่ามช่างงามตา
ในนภาสลับจับอัมพร

แดดรอนรอน
เมื่อทินกรจะลาโลกไปไกล
ยามนี้จำต้องพรากจากดวงใจ
ไกลแสนไกลสุดห่วงยอดดวงตา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
ทุกวันคืนรื่นอุรา
ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์
เหมือนดังนภาไร้ทินกร

แดดรอนรอน
หากทินกรจะลาโลกไปไกล
ความรักเราคงอยู่คู่กันไป
ในหัวใจคงอยู่คู่เชยชม

แดดรอนรอน
หมู่มวลภมรบินลอยล่องตามลม
คลอเคล้าพฤกษาชาติชื่นเชยชม
ชมสมตามอารมณ์ล่องเลยไป

ลิ่วลมโชย
กลิ่นพรรณไม้โปรยโรยร่วงห่วงอาลัย
ยามสายัณห์พลันพรากจากดวงใจ
คอยแสงทองวันใหม่กลับคืนมา

แต่ก่อนเคยคลอเคลียกัน
ทุกวันคืนชื่นอุรา
ต้องอยู่เดียวเปลี่ยววิญญาณ์
เหมือนดังนภาไร้ทินกร

โอ้ยามเย็น
จวบยามนี้เป็นเวลาสุดอาวรณ์
ยามไร้ความสว่างห่างทินกร
ยามรักจำจะจรจากกันไป

ดาวน์โหลด : เพลงดวงใจกับความรัก (Never Mind The H.M. Blues).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย ในงานเฉลิมพระชนมพรรณาปีนั้น (วันเสาร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๐) หลังจากได้เสวยพระกระยาหารและนักดนตรีได้รับประทานอาหารแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และพระราชทานชื่อว่า Never Mind the H.M. Blues เป็นการตอบปริศนาคำทายที่ว่า H.M. แปลว่าอะไร

เพลงดวงใจกับความรัก (Never Mind The H.M. Blues)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

ค่ำคืนนภาดาราพราว
ประกายแสงดาวพราวตา
ดาษเรียงเคียงแสงดวงจันทรา
เพลินชมแสงพรายนภาเห็นดวงดาราล้อมจันทร์

ที่จริงนั้นเดือนและดวงดาว
ต่างเรืองแสงวาวพราวพรรณ
ด้วยแรงจากแสงดวงตะวัน
จึงมีแสงเดือนงามครันแสงดาวประชันน่าชม

เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
เปล่งแววไปเปลี่ยนใจชม
ด้วยจินตนาอารมณ์นานาประการ

แน่นอนแท้จริงคือดวงใจ
ส่องแววรักไปยืนนาน
เปรียบดังกับแสงตะวันตระการ
ยังคงแสงงามสะคราญแสงทองยืนนานเรื่อยมา

ตะวันฉายมาดาราราย
ส่องแสงพริ้มพรายนัยน์ตา
รื่นรมย์ชมแสงดวงจันทรา
ชมดาวล้อมเดือนงามตาพริ้มพรายนภาแสงงาม

มาตรแม้นสูญดวงตะวันไป
ประดาแสงในฟ้าทราม
ผู้คนสัตว์ไม้จะตายตาม
ตะวันสูญไปเป็นยามล้วนมีแต่ความมืดมน

เปรียบดวงดาวและดวงเดือน
ก็เหมือนแม้นแววมโนรมย์
เปล่งแววไปต่างใจคน
เปลี่ยนแปลงไปตามใจตนเวียนวนจนตาย

ตะวันนั้นเหมือนดังดวงใจ
หากสิ้นแสงไปรักคลาย
ขาดความรักเหมือนชีวาวาย
จะเป็นหรือตายทั้งใจและกายไม่วาย

ดาวน์โหลด : เพลงพรปีใหม่ (New Year Greeting).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์อันดับที่ ๑๓ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง 'พรปีใม่' และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็จศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีให่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรี นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕

เพลงพรปีใหม่ (New Year Greeting)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

สวัสดีวันปีใหม่พา
ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม
ต่างสุขสมนิยมยินดี

ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า
ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี
ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์
ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่
ผองชาวไทยจงสวัสดี

ตลอดปีจงมีสุขใจ
ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์
สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

ดาวน์โหลด : เพลงยิ้มสู้ (Smiles).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๖ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพื่อเป็นการปลอบขวัญ และให้กำลังใจแก่คนตาบอด แล้วพระราชทานให้นำไปบรรเลงในงานสมาคมช่วยคนตาบอดในพระบรม ราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์ในปีต่อมา

เพลงยิ้มสู้ (Smiles)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

โลกจะสุขสบายนั้นเป็นได้หลายทาง
ต้องหลบสิ่งกีดขวางหนทางให้พ้นไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง
ฝ่าลู่ทางชีวิตต้องคิดเฝ้าย้อมใจ
โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้
คนเป็นคนจะจนหรือมี
ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย
ใฝ่กระทำความดีให้มีจิตโสภา
สร้างแต่ความเมตตาหาความสุขสันต์ไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ

เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปแล้วใจชื่นบาน

ดาวน์โหลด : เพลงลมหนาว (Love in Spring).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๙ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ และได้พระราชทานเพลงนี้ออกบรรเลงครั้งแรกในงานประจำปีของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนลุมพินี เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาไทยถวาย

เพลงลมหนาว (Love in Spring)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

ยามลมหนาว พัดโบกโบยโชยชื่น
เหล่าสกุณร้องรื่นรมย์
หมู่ดอกไม้ชวนภมรร่อนชม
ช่างสุขสมเพลินตาน่าดูชูใจ
โอ้รักเจ้าเอ๋ย
ยามรักสมดังฤทัย
พิศดูสิ่งใด
ก็แลวิไลแจ่มใสครัน
อันความรักมักจะพาใจฝัน
เมื่อรักนั้นสุขสมจิตปอง
ยามลมฝน พัดโบกโบยกระหน่ำ
หยดหยาดนำน้ำหลั่งนอง
ผึ้งภู่ทั้งวิหคเหงาเศร้าหมอง
เกลื่อนกลาดผองมาลีร่วงโรยลงดิน
เหมือนรักผิดหวัง
เปรียบดังหัวใจพังภินท์
น้ำตาหลั่งริน
และลามไหลเพียงหยาดฝนปราย
อันความรักแม้นไม่เป็นดังหมาย
ตราบวันตาย
ชีพขมขื่นเอย

ดาวน์โหลด : เพลงศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๒๐ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อเป็นเพลงประจำวงดนตรี "ลายคราม" โดยบรรเลง ทุกคราวที่ทรงดนตรีกับวงลายคราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นนักดนตรีคนหนึ่ง ของวงลายคราม แต่งคำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้พระราชทานออกบรรเลงครั้งแรกทางสถานีวิทยุ อ.ส.

เพลงศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

ลูกคู่
ซี วิง ลาย คราม ต้องไม่แสดง รุ่มร่าม ซี วิง ลาย คราม ต้องไม่แสดง รุ่มร่าม
หนึ่ง สอง สาม สี่ อ้าว ไม่สี หนึ่ง สอง สาม สี่ อ้าว ไม่เป่า
ซี วิง ลาย คราม ชู่ ชู่ ชู่ ชู่

เนื้อร้อง
ดีด ก็วันนี้ สี ก็วันนี้ ตี ก็วันนี้ ลายคราม
เป่า ก็วันนี้ เมา ก็วันนี้ เมา แต่ดนตรี ลายคราม
สุข ก็วันนี้ สนุก ก็วันนี้ ศุกร์ สิ้นทุกข์ ลายคราม

อิ่ม ก็วันนี้ เมื่อย ก็วันนี้ ง่วง ก็วันนี้ ลายคราม
นิ้วพัง ก็วันนี้ ปากเจ่อ ก็วันนี้ เจ่อ เพราะดนตรี ลายคราม
สุข ก็วันนี้ สนุก ก็วันนี้ ศุกร์ สิ้นทุกข์ ลายคราม

โด ก็วันนี้ เร ก็วันนี้ มี ก็วันนี้ ลายคราม
ฟา ก็วันนี้ กวา ก็วันนี้ กวาเพราะดนตรี ลายคราม
สุข ก็วันนี้ สนุก ก็วันนี้ ศุกร์ สิ้นทุกข์ ลายคราม

ดาวน์โหลด : เพลง Oh I Say.mp3

เพลงพระราชนิพนธ์อันดับที่ ๒๑ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ แล้วพระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ สโมสรสวนสราญรมย์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๘ เพลง พระราชนิพนธ์นี้ไม่มีคำร้องภาษาไทย

เพลง Oh I Say

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

Oh let me say, just to say, What I'll say.
Or do you say, just to say, What you'll say.
Oh let us say, Just to say, What we'll say.
Now what'll we say? Just something to be gay,
To chase the trouble and the cares of the day away.
Let us all sing the song, we want to be happy today.

Happiness comes only once in a lifetime.
We do not know whence we come, where we go.
So here goes.

Now let me say, just to say, What I'll say.
And do you say, just to say, What you'll say
Let us all sing the song, we want to be happy today.

ดาวน์โหลด : เพลงภิรมย์รัก (A Love Story).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ชุด "Kinari" ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ประกอบการแสดงระบำบัลเลต์ชุด "มโนห์รา" ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด โปรดเกล้าฯให้วงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงประกอบ การแสดงบัลเลต์ชุดมโนห์รา ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงควบคุมการฝึกซ้อมด้วย พระองค์เอง เพลงพระราชนิพนธ์ชุดนี้ประกอบด้วย
A Love Story เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ "A Love Story" และพลเรือตรี ปรีชา ดิษยนันทน์ ประพันธ์คำร้อง ภาษาไทย "ภิรมย์รัก"
Nature Waltz เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๑
The Hunter เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๒
Kinari Waltz เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๓
เพลงพระราชนิพนธ์ชุด "Kinari" นี้ ยังได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ "Blue Day" เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๗ มาบรรเลงร่วมด้วย

เพลงภิรมย์รัก (A Love Story)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

ไร้คนเคียงข้าง
โลกอ้างว้างหมางอารมณ์เศร้า
ทิวาราตรีตรมซบเซา
ส่งความอับเฉาสู่ดวงใจ
ไร้เธอหมายมั่น
สุดโศกศัลย์ทุกวันหมองไหม้
เสียงครวญมวลวิหคหายไป
ไม่มีแห่งไหนดอกไม้บาน
กามเทพส่งเธอมา
แอบอุรารำพัน
เพ้อพร่ำเพลงรักฝากชีวัน
ฉันยังฝังใจภิรมย์
รักที่เธอให้
โลกสดใสดวงใจหายตรม
เหลียวดูทางใดชวนหวนชม
ด้วยรักสุขสมจนนิรันดร์

ดาวน์โหลด : เพลงแผ่นดินของเรา (Alexandra).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๔ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ในโอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์ สหราชอาณาจักร เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ตามทำนองที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๑๖ ห้องเพลง นำออกบรรเลงครั้งแรก ณ ศาลาผกาภิรมย์ สวนจิตรลดา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๖ สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระราชดำริว่า ท่วงทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ Alexandra ไพเราะ และน่าจะใส่ คำร้องภาษาไทยได้ จึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ประพันธ์ คำร้องภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า เพลงพระราชนิพนธ์ Alexandra นี้มีเพียง ๑๖ ห้องเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมโดยมีท่อนกลาง และท่อนท้าย จนครบ ๓๒ ห้องเพลง

เพลงแผ่นดินของเรา (Alexandra)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : วิวรรธน์ สุทธิแย้ม

ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ
เหมือนอยู่บ้านเรา ชื่นฉ่ำค่ำเช้าสุขทวี
ทรัพย์จากผืนดิน สินจากนที
มีสิทธิ์เสรี สันติครองเมือง
เรามีป่าไม้อยู่สมบูรณ์ ไร่นาสดใสใต้ฟ้าเรือง
โบราณสถานส่งนามประเทือง เกียรติเมืองไทยขจรไปทั่วแดนไกล
รักชาติของเรา ไว้เถิดผองไทย
ผืนแผ่นแหลมทอง รวมพี่รวมน้องด้วยกัน
รักเกียรติรักวงศ์ เสริมส่งสัมพันธ์
ทูนเทิดเมืองไทยนั้น ให้ยืนยง

ดาวน์โหลด : เพลงในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๗ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ คำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองเป็นเพลงแรก ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ประพันธ์คำร้องภาษาไทยถวาย

เพลงในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

อยากลืมลืมรักลืมมิลง
กลับพะวงหลงเพ้อเงา
เปรียบปานเพลิงรักรุมสุมเศร้า
เปลี่ยวเปล่าร้าวรอน
แต่เพียงกาลเวลาอันหมุนเวียน
ฤๅอาจผลัดเปลี่ยนเบียนรักคลอน
รสรักจากกร กอดสวมกร
ยังถาวรติดเตือน

เมื่อยามอาทิตย์ลอยคล้อยต่ำ
ย่ำยามท้องฟ้าเลือน
ยังหวังเชยชิดกันฉันเพื่อน
ติดเตือนตรึงใจ
สุดประพันธ์บรรเลงให้ครบครัน
วันอาจจะผ่านเวียนผันไป
รักนั้นจะเนาแน่นแฟ้นใน
ดวงใจนิรันดร์

ดาวน์โหลด : เพลงความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream).mp3

เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๓ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เล่าไว้ในหนังสือ "ภิรมย์รัตน์" ว่า เมื่อตามเสด็จฯไปอยู่ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ
"ข้าพเจ้าค่อย ๆ คิดหาคำ กลั่นกรองให้ตรงกับความหมายเท่าที่จะสามารถ แล้วทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร ทรงพระกรุณาติชม จนผลสุดท้ายออกมาเป็นกลอน ๕ บท
ความบันดาลใจในเรื่องนี้มีที่มาจากการสังเกตของข้าพเจ้า ได้รู้เห็นพระราชอัธยาศัย พระราชจริยวัตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันไม่เสื่อมคลาย"
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทาน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี เพราะ บ้านเมืองขณะนั้นยุ่งอลเวง น่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศชาติ
ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน "ความฝันอันสูงสุด" ดังที่เป็นเพลงพระราชนิพนธ์รู้จักกันแพร่หลายทุกวันนี้ นับเป็น เพลงพระราชนิพนธ์แรกที่ได้ทรงจากคำร้อง

เพลงความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)

ทํานอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เรียบเรียงเสียงประสาน : ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ
ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว
ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ
ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควร
ไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขา
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา
ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง
หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส
ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด
ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ
ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย


  • project 1

    เพลงแสงเทียน

    (Candlelight Blues)

  • project 2

    เพลงยามเย็น

    (Love at Sundown)

  • project 3

    เพลงดวงใจกับความรัก

    (Never Mind The H.M. Blues)

  • project 4

    เพลงพรปีใหม่

    (New Year Greeting)

  • project 5

    เพลงยิ้มสู้

    (Smiles)

  • project 6

    เพลงลมหนาว

    (Love in Spring)

  • project 7

    เพลงศุกร์สัญลักษณ์

    (Friday Night Rag)

  • project 8

    เพลง Oh I Say

    (Oh I Say)

  • project 9

    เพลงภิรมย์รัก

    (A Love Story)

  • project 10

    เพลงแผ่นดินของเรา

    (Alexandra)

  • project 11

    เพลงในดวงใจนิรันดร์

    (Still on My Mind)

  • project 12

    เพลงความฝันอันสูงสุด

    (The Impossible Dream)

ABOUT

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
Princess Galyani Vadhana Institute of Music

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในมงคลวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเพื่อชาวไทยตลอดมา รวมทั้งเพื่อเป็นการสนองพระปณิธานในการที่จะพัฒนาดนตรีคลาสสิกของประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ ด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทางดนตรีคลาสสิกให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ด้านดนตรีคลาสสิกที่ดีให้กับสังคมไทย
จากวิสัยทัศน์เพื่อไปสู่การเป็นสถานศึกษาทางด้านดนตรีชั้นนำ ระดับนานาชาติ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนามีพันธกิจสามประการ ที่จะนำไปสู่พระปณิธานขององค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการสร้างดนตรีคลาสสิกให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติให้ไปสู่ความเจริญทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ได้แก่
1) สร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านดนตรีคลาสสิกที่มีศักยภาพสูง มีความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถที่จะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับบริบทของสังคม
2) เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับสังคม
3) เป็นศูนย์รวมในการศึกษาค้นคว้าวิจัย บูรณาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรีระหว่างบุคคล ชุมชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อสืบสานพระปณิธานในการที่จะให้ความรู้แก่ผู้ฟังดนตรี และการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีคลาสสิกให้มีมาตรฐานระดับสากล สถาบันฯได้จัดทำโครงการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีสู่สาธารณชนหลายโครงการ อาทิ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้ทางดนตรีแก่บุคคลทั่วไป อีกทั้งการจัดทำโครงการพัฒนาดนตรีแก่ผู้ฟัง โดยสถาบันฯมีเป้าหมายในการสร้างเวทีให้กับนักเรียน นักดนตรี นักดนตรีระดับอาชีพ และผู้ฟังทั่วไป เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางดนตรี บทสนทนา และแบ่งปันความรักในดนตรีร่วมกัน

นักดนตรีวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

ผู้อำนวยเพลง
อาจารย์สิทธิชัย เพ็งเจริญ
 
ไวโอลิน Violin I
พลศิษฐ์ โสภณสิริ, กิตติพิชญ์ กัยวิกัย, เพลงพร ฐานวณิชสิริ, หิรัณย์ บงกชมาศ, พรชนิตว์ มณีวรรณ, ชวิน กาญจนพันธุ์, ภูสิทธิ หามนตรี, ภัทรฉัตรา ทองมา, สิริษา ศักดิ์นาวีพร, วรุบล จงตรอง, วาดตะวัน เกตุบัณฑร, ณัฐพร ปกรณ์ศิริกุล
 
ไวโอลิน Violin II
ญาณิศา วิริยะชัย, นิรัฐศา อยู่สมบูรณ์, ภัทรมณี สุขสุผล, จิราพัชร เลิศศิวาพร, ธีศิลป์ ภูริวัฒนพงศ์, พงษ์ไพโรจน์ เลิศสุดวิชัย, ณัฐมน เรืองเวทสวัสดิ์, ภัทธิยา สิริโรจน์สถาพร, Lourna Mydes Quinto, ณัฐภัทร พิศุทธิ์วงศ์, กีรติกร พรมเดเวช, ญาณินี พงศ์ภคเธียร
 
วิโอล่า Viola
ณัฐณิชา เหลืองทวีกิจ, ภูริช ประเสริฐสุข, พันธุ์บุญ บุญยเกียรติ, นราวิชญ์ ผู้มีสัตย์, ฉมามาศ แก้วบัวดี, ภัทรพจน์ สว่างแจ้ง, เกศวลี สังข์ทอง
 
เชลโล Cello
อลิน กาญจนพันธุ์, บัณฑ์ฌรี ฐิตวัฒน์, วรรโณพัฒร์ ค้าพลอยเขียว, ชญานิศ เหลืองทวีกิจ, พรนภัส ศานติวรางกูร, รีพอ แสนทวีเดช
 
ดับเบิลเบส Double bass
แพรววนิตสิตา ณีศะนันท์, ณัฐวุฒิ สังฆสโร, จิรายุส เถาลิโป้, วธูสิริ คารวพงศ์, มา คัมภีร์
 
ฟลูท / พิคโคโล (Flute / Piccolo)
ธีรัตม์ เกตุมี, ธัญวรัตม์ วงศ์ธรรมชัย, จิรายุ เตชะมานะพงษ์
 
โอโบ Oboe
เจษฎ์บดินทร์ วินิจสิทธิ, ธนวรรณ ธวัชวิบูลย์, ฐนิต แก้วรักษ์
 
คลาริเนต Clarinet
สุทธิลักษณ์ พวงสุวรรณ, เมธา ยวนเขียว
 
บาสซูน Bassoon
วัฒน์ชนิน ปราโมกข์ชน, จิรายุ ศรีเมือง
 
เฟรนช์ ฮอร์น French Hone
วรพล รัตนอาพล, ไอซน์ซี่ เจริญพรพจน์, จุฑามาศ ไพบูลย์กุลวงษ์, ณัฐพัชร์ กิระวิโรจน์, คณิน พฤกษ์ปีติ
 
ทรัมเปต Trumpet
พีระยุทธ ชินอัน, นิติภูมิ บารุงบ้านทุ่ม, ณรงค์กฤต ฉันทดิลกพร
 
ทรอมโบน Trombone
สุภาวดี กาหลง, อภิศักดิ์ พรชีวางกูร
 
เบสทรอมโบน Bass Trombone
กิตติวงศ์ นาโควงค์
 
ทูบา Tuba
ฐิระพงษ์ เขียวนิล
 
เพอคัชชั่น Percussion
ศรัณย์พร สุวรรณ, นิธิศ รุจิขจรเดช, พชร ทู้ไพเราะ, ธัญเทพ ธัญญจิตต์โรจน์
 
ฮาร์ป Harp
ปุณฑรี วุฒิพรพงษ์
 
ผู้ประสานงาน
นายพงษ์เทพ จิตดวงเปรม, นายฤทธิฉัตร เพชรมุนินทร์, นางสาวรัตนา โกศลวัฒนโรจน์
 
เรียบเรียงเสียงประสาน
วิวรรธน์ สุทธิแย้ม, ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน,
 
บันทึกเสียง
นายประทีป เจตนากูล
 
บันทึกวิดีโอ
นายธัชวงศ์ ศิริสวัสดิ์
 
ออกแบบเว็บไซต์
นายพงศธร ศรีวิเศษ

สภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี   ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา   ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล  สกลสัตยาทร   นายกสภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
อาจารย์ ดร.ชาคร วิภูษณวนิช   อุปนายกสภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
นางวราภรณ์ สีหนาท   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
นายดำริห์ บรรณวิทยกิจ   กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์   อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
อาจารย์สิทธิชัย เพ็งเจริญ   รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
อาจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
อาจารย์ศุภพร สุวรรณภักดี   ผู้ช่วยอธิการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ฝ่ายกิจการนักศึกษา
และรักษาการแทนคณบดี สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์
อาจารย์ ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง   ผู้แทนคณาจารย์ประจำ
นายณัฐวุฒิ เลี่ยมสุวรรณ   ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบัน
นางสาวกชพร บุญสม   ประธานสภาพนักงาน
     

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา   ประธานกรรมการ
คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์   อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.ชัยยงค์ สัจจิพานนท์   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อาจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
นายณัฐวุฒิ เลี่ยมสุวรรณ   ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบัน

บุคลากรสำนักงานสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

นายณัฐวุฒิ เลี่ยมสุวรรณ
ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบัน
 
นางสาวกนกวรรณ วิลัยมาตย์   นางสาวดิสรัตน์ สุกษมภัทร์
นางสาวพลอยไพลิน พงษ์ศิริแสน   นายธเนศ รัศมี
ว่าที่ร้อยตรีสุรพงษ์ เด็นลีเมาะ   นางนิภาภรณ์ งาดเกาะ
นางเบญจวรรณ ชุ่มคุมสิน   นางธิติมา สุขแสงจันทร์
นายพงศธร ศรีวิเศษ   นายเอกชัย คงคืน
นายธัชวงศ์ ศิริสวัสดิ์   นางสาวณุสมล จงประกิจพงศ์
นายนพดล บุญเดช   นางสาวกชพร  บุญสม
นางสาวหทัย  กิรานุชิตพงศ์   นางสาวพิชาภรณ์  สุคนธพันธุ์
นายเศรษฐพงศ์  จรรยารยชน   นางสาวเกตุมณี  อินอ่อน
นางสาวรัตนาพร  ปานพรม   นายพลัฏฐ์  ปวราธิสันต์
นางสาวพิมสิริ  สกุลน้อย   นางสาวรติ  ผนิศวรนันท์

Contact Us

Princess Galyani Vadhana Institute of Music

2010, ซอย อรุณอมรินทร์ 36, ถนนอรุณอมรินทร์,
แขวงบางยี่ขัน, เขตบางพลัด, กรุงเทพมหานคร 10700

โทร : 02-447-8597

PGVIM