โครงการนวัตกรรมดนตรีสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาชุมชน ปีที่ 2 กรณีศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับแรงบันดาลใจจากองค์ความรู้ศิลปะการในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี ในด้านสุนทรียะของดนตรีพื้นบ้าน ประกอบด้วย วายังกูเละ รำสีละ และรองเง็ง ซึ่งศิลปะการแสดงเหล่านี้นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ โดยยังเป็นโจทย์ในความท้าทายในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต้องอาศัยความเข้าใจ อีกทั้งองค์ประกอบทางด้านดนตรี เช่น จังหวะ ทำนอง และภูมิหลังทางวัฒนธรรมดนตรี จะนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในขั้นต่อไป ถึงแม้ว่าเวลาและบริบททางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป ดนตรียังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์
The project “Innovation of Creative Music Process for Community Development Phase 2: Case Study Three Southern Border Provinces” draws inspiration from the traditional performing arts in Yala, Narathiwas, and Pattani, specifically the Wayang kulet, Silat, and Ronggeng, which are integral to the cultural fabric of the region. These art forms reflect the community’s way of life and present an opportunity to explore the preservation of these traditional arts in the face of evolving societal dynamics in the contemporary way. By analysing the musical elements such as melodic lines, rhythm, and gestures inherent in these art forms, the project aspires to design activities honouring traditional music’s original essence. The researchers recognise the transformative power of music in developing human potential and seek to bridge the gap in understanding and preserving these art forms within the community.
จังหวัดยะลา
ศิลปะการแสดง: วายังกูเละ
ศิลปินพื้นบ้าน นายหนัง มะยาเต็ง สาเมาะ
แรงบันดาลใจ
ศิลปะการแสดงวายังกูเละ ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวในด้านการแสดงและดนตรี โดยเฉพาะการพากย์บทที่มีลักษณะการด้น (improvisation) ประกอบกับกลุ่มเครื่องดนตรีเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่สุแน และเครื่องกระทบ ประกอบด้วย กลองแขก กลองสองหน้า โหม่ง และฆ้องใหญ่ ดนตรีประกอบการแสดงที่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณส่งผลให้การแสดงวายังกูเละ มีสีสันและน่าติดตาม ในด้านการส่งต่อภูมิปัญญา มีการถ่ายทอดความรู้สู่รุ่นต่อไป อีกทั้งคณะหนังเต็งตลุงบันเทิงมีโอกาสออกแสดงทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าหนังตลุงในพื้นที่เริ่มหายไปจากคนในชุมชน การพยายามสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าภูมิปัญญาในพื้นที่และการสร้างการยอมรับศิลปะพื้นบ้านนี้อย่างต่อเนื่อง
จังหวัดนราธิวาส
ศิลปะการแสดง: รำสิละ
ศิลปินพื้นบ้าน พ่อเฒ่าพือราเฮง แลแลแนะ
แรงบันดาลใจ
ศิลปินพื้นบ้าน พ่อเฒ่าพือราเฮง แลแลแนะ คณะซายาตีอัสมัน อายุ 97 ปี ให้สัมภาษณ์แปลความส่วนหนึ่งได้ว่า “สีละคือชีวิตจิตใจและจิตใต้สำนึก แม้ว่าตอนนี้ตาจะมองไม่เห็น แต่ยังสัมผัสได้” (พือราเฮง, 2567) สิละนิยมเล่นในงานประเพณีท้องถิ่น เช่น งานแต่งงาน และการรักษาโรคตามความเชื่อท้องถิ่น เมื่อกาลเวลาล่วงเลยทำให้หลงเหลือการรำสิละในพื้นที่มีอยู่ไม่มากนัก โดยมีการสืบทอดไปยังรุ่นลูก และเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่อยู่บ้าง เช่น เป็นวิทยากรให้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้างอย่างไม่หวงวิชา เพราะอยากให้มีการสืบทอดความรู้ศิลปะพื้นบ้านรำสิละต่อไป ศิลปะการแสดงแขนงนี้ในดนตรีพบเครื่องดนตรีประกอบด้วย เครื่องดนตรี ปี่ชวา ฆ้องใหญ่ กลองสองหน้า การบรรเลงกลองมีรูปแบบที่เร้าใจและจังหวะจะโคลนที่มีความน่าสนใจ
จังหวัดปัตตานี
ศิลปะการแสดง: รองเง็ง
ศิลปินพื้นบ้าน ครูวชิรพันธุ์ ภู่พงษ์ โรงเรียนวัดสุวรรณากร
แรงบันดาลใจ
จากความรู้ของศิลปินแห่งชาติ ขาเดว์ แวเด็ง ที่ส่งต่อมายังครูวชิรพันธุ์ ภู่พงษ์ โรงเรียนวัดสุวรรณากร ในการฝึกฝนเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในการบรรเลงดนตรีรองเง็ง จากประสบการการณ์เรียนรู้ที่ถ่ายทอดให้เยาวชนมีจิตใจที่อ่อนโยนจากดนตรี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะวิจัยและครูวชิรพันธุ์เป็นแรงบันดาลใจให้แก่กันละกันในการส่งต่อภูมิปัญญาทางศิลปะการแสดงดนตรี โดยระหว่างการสัมภาษณ์การสาธิตในบทเพลง ลาฆูดูวอ และตาลีกีปัส โดยเครื่องดนตรีใช้วงขนาดย่อมประกอบด้วย ไวโอลิน ฆ้องใหญ่ กลอง เบนโจ และเครื่องกระทบอื่น ๆ ความตั้งใจของเยาวชนวงอาเนาะบุหลันสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ของครูที่มีต่อศิษย์