- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับสถาบัน
- เรียนที่สถาบันดนตรี
- บริการวิชาการ
- ข่าวสาร
- E–Service
- ติดต่อสถาบัน
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) ดศ.ม.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Master of Music Program
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) M.M.
- แบบ ก1 จำนวน 36 หน่วยกิต
- แบบ ก2 จำนวน 39 หน่วยกิต
“ Master of Music Program (M.M.) ”
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในดนตรีอย่างลึกซึ้ง มีความตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในฐานะศาสตร์และศิลป์ มีศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสร้างความรู้ใหม่รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่มีคุณค่า และสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน โดยสามารถประยุกต์ใช้ดนตรีในเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ อีกทั้งยังสามารถใช้ความรู้ทางด้านดนตรีเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาศาสตร์ทางด้านดนตรีในอนาคต
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาผู้เรียน ทั้งในมิติของความรู้ การวิจัย และการสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านดนตรีเชิงบูรณาการ รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี อย่างเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน ผ่านศาสตร์ของดนตรีเชิงบูรณาการ
“ Master of Music Program (M.M.) ”
“ Master of Music Program (M.M.) ”
1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีเชิงบูรณาการ ที่มีศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และเปิดกว้างทางความคิดในการสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีเชิงบูรณาการ และมีทักษะในการเรียนรู้พัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้เข้ากับบริบทของความเปลี่ยนแปลง ในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
2) เพื่อผลิตผลงานวิจัย สร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านดนตรี รวมทั้งส่งเสริมการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
3) เพื่อสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการในศาสตร์ของดนตรีเชิงบูรณาการ ที่ครอบคลุมการสร้างสรรค์ในมิติต่างๆ ทางด้านดนตรี ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
* ข้อกำหนดต่างๆ
ให้เป็นไปตามข้อบังคับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต พ.ศ. 2562
ภาคการศึกษาต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
หมายเหตุ :
ทั้งนี้ระยะเวลาของแต่ละภาคการศึกษาอาจปรับเปลี่ยนได้ตามที่สถาบันฯ กาหนดต่อไป
(1) นักวิชาการด้านดนตรี
(2) นักดนตรีเชิงบูรณาการ
(3) ผู้สร้างสรรค์ทางด้านดนตรี
(4) อาจารย์ด้านดนตรี
(5) ผู้ประกอบการด้านดนตรี
(6) นักวิชาการละครและดนตรี
ผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท ในหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งสถาบันฯ จะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าสมัคร
“ Master of Music Program (M.M.) ”
โครงสร้าง |
แผน ก | หน่วยกิต |
|
---|---|---|---|
แบบ ก1 | แบบ ก2 | ||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 36 | 39 | หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน | - | 27 | หน่วยกิต |
- รายวิชาบังคับ | 6* | 12 | หน่วยกิต |
- รายวิชาเฉพาะ | - | 9 | หน่วยกิต |
- รายวิชาเลือก | - | 6 | หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ | 36 | 12 | หน่วยกิต |
* ศึกษาเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต
“ Master of Music Program (M.M.) ”
รายวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้ | ||
---|---|---|
200 101 | การรู้และตีความสัญลักษณ์ทางดนตรี ระบบการบันทึกสัญลักษณ์ทางดนตรีในแต่ละยุคสมัย การตีความสัญลักษณ์กับการปฏิบัติการจัดแสดง และนำเสนอดนตรีและงานสร้างสรรค์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง การบูรณาการ การสื่อสาร ดนตรีและเสียงผ่านสัญลักษณ์ ตัวอย่างแนวคิดของศิลปินสร้างสรรค์และนักดนตรี |
3 (3-0-6) |
200 102 |
ปรัชญา วัฒนธรรม และสุนทรีย์ศาสตร์ บริบทในการสร้างสรรค์ดนตรีในสังคมปัจจุบัน การวิเคราะห์ วิพากษ์ปรากฏการณ์การสร้างสรรค์ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรม ผ่านงานสร้างสรรค์และแนวคิดของนักดนตรี ศิลปิน นักแสดงและนักทฤษฎีทางสังคมวิทยา และวัฒนธรรมศึกษา การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างสรรค์ดนตรีในมุมมองของคุณค่าทางสุนทรีย์ศาสตร์ สังคม การเมือง และปรัชญา |
3 (3-0-6) |
200 103 |
วิธีวิจัยทางดนตรี แนวคิดและวิธีในการตั้งคำถาม และประเด็นค้นคว้าวิจัย ในเชิงสุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสร้างสรรค์ การอ้างอิง วิธีวิทยาในการวิจัย การใช้เครื่องมือการศึกษาในเชิงคุณภาพ และปริมาณ การประเมินผล วิเคราะห์ผล กระบวนการและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการศึกษาวิทยานิพนธ์ตามหัวข้อของนักศึกษา การปฏิบัติการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ และการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง |
3 (3-0-6) |
200 104 |
การศึกษาการบูรณาการด้านดนตรี แนวทางและตัวอย่างในการสร้างสรรค์ดนตรีที่บูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่นๆ การปฏิบัติการโครงการศึกษาที่ส่งเสริมการบูรณาการดนตรีกับศาสตร์อื่นๆ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยคณาจารย์ |
3 (1-2-6) |
รายวิชาเฉพาะ จำนวน 6 หน่วยกิต | ||
---|---|---|
201 201 |
ทักษะวิชาเอกดนตรีขั้นสูง 1 ปฏิบัติการทักษะวิชาเอก การปฏิบัติเครื่องดนตรี หรือ การประพันธ์ หรือ การสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี หรือ หัวข้อการศึกษาทางด้านดนตรีวิทยาที่อาจารย์และนักศึกษาตกลงร่วมกัน ค้นคว้าและเขียนรายงาน ศึกษาเชิงวิพากษ์บนหัวข้อที่เลือก ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ |
3 (1-2-6) |
201 202 |
ทักษะวิชาเอกดนตรีขั้นสูง การศึกษาต่อเนื่องจากรายวิชา ทักษะวิชาเอกขั้นสูง 1 ที่ศึกษาการปฏิบัติการทักษะวิชาเอก การปฏิบัติเครื่องดนตรี หรือ การประพันธ์ หรือ การสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี หรือ หัวข้อการศึกษาทางด้านดนตรีวิทยา โดยสร้างความเชื่อมโยงกับรายวิชาอื่นๆ ที่เรียนในหลักสูตร และเตรียมพร้อมสำหรับการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ |
3 (1-2-6) |
201 203 |
ทักษะวิชาเอกดนตรีขั้นสูง 3 การศึกษาต่อเนื่องจากรายวิชา ทักษะวิชาเอกขั้นสูง 2 โดยศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติการทักษะวิชาเอก การปฏิบัติเครื่องดนตรี หรือ การประพันธ์ หรือ การสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี หรือ หัวข้อการศึกษาทางด้านดนตรีวิทยา โดยสร้างความเชื่อมโยงกับหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ |
3 (1-2-6) |
รายวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต | ||
---|---|---|
202 101 |
หัวข้อการศึกษาการวิเคราะห์ดนตรี การวิเคราะห์ดนตรีที่ประพันธ์ในยุคต่างๆ การจัดการด้านโมทีฟ เสียงประสาน จังหวะ พื้นผิวดนตรี สังคีตลักษณ์ และการเรียบเรียง |
2 (2-0-4) |
202 102 |
หัวข้อการศึกษาแนวปฏิบัติการแสดง แนวปฏิบัติการแสดงดนตรีในยุคต่างๆ จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ อาทิ โน้ตลายมือต้นฉบับ โน้ตที่คัดลอกด้วยลายมือ และตำราดนตรีที่สำคัญ การเปรียบเทียบโน้ตจากสำนักพิมพ์ต่างๆ การรวบรวมข้อมูลจากจดหมายเหตุ บทวิจารณ์ดนตรี และบทความจากวารสารดนตรี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์แนวทางการตีความบทเพลงและศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติการแสดงดนตรีในแต่ละยุคสมัยและในแต่ละท้องถิ่น |
2 (2-0-4) |
202 103 |
หัวข้อการศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี บริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ จัดแสดง และรับรู้ดนตรี ในปัจจุบัน แนวคิดในการสร้างสรรค์ดนตรี ความเชื่อมโยงกับวิวัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี รวมถึงศิลปะในแขนงอื่นๆ ผ่านแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ บทวิจารณ์ดนตรี และบันทึกเสียงสมัยก่อน รวมถึงข้อมูลทุติยภูมิ อาทิ จดหมายเหตุ และบทวิเคราะห์ |
2 (2-0-4) |
202 104 |
หัวข้อการศึกษาดนตรีเอเชีย และดนตรีโลก การเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และบทบาทหน้าที่ของดนตรีเชิงลึกในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่สำคัญของดนตรี ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับผู้คนในสังคมผ่านแนวความคิดที่ส่งผลต่อ วิถีการดำเนินชีวิต โครงสร้างสังคมที่สอดคล้องกับการเมือง นโยบายทางเศรษฐกิจ สุนทรียศาสตร์ และการพัฒนาของดนตรีในลักษณะของการทำงานดนตรีข้ามวัฒนธรรม |
2 (2-0-4) |
202 105 |
หัวข้อการศึกษากลวิธีการสอนดนตรี กลวิธีการสอนดนตรีแบบต่างๆ จิตวิทยาการสอน พัฒนาการของเด็ก วางแผนการสอนอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพทั้งสำหรับการสอนรายบุคคลและการสอนกลุ่ม ฝึกฝนทักษะการสอนของตัวเองให้เหมาะกับเด็กนักเรียนแต่ละคน และเรียนรู้บทเพลงสำหรับการสอนตั้งแต่ในระดับเบื้องต้นจนถึงระดับกลาง อีกทั้งยังเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการเข้าชมการสอนแล้วนำมารายงานในชั้นเรียน |
2 (2-0-4) |
202 106 |
ดนตรีกับสื่อภาพยนตร์ ทฤษฎีและปรัชญาในการบูรณาการสื่อภาพยนตร์กับดนตรี ศึกษาตัวอย่างแนวคิดที่สำคัญ และปฏิบัติการการผลิตสื่อดนตรีกับภาพยนตร์ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน |
2 (1-2-3) |
202 107 |
ดนตรี การออกแบบสื่ออินเตอร์แอคทีฟ และศิลปะเสียง ประวัติศาสตร์ ทฤษฎี แนวคิด และสุนทรีย์ศาสตร์ของงานศิลปะเสียง ผ่านตัวอย่างของศิลปิน นักดนตรี ที่สำคัญ การปฏิบัติการโครงการสร้างสรรค์ศิลปะเสียง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน |
2 (1-2-3) |
202 108 |
การรับรู้ดนตรี ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของศาสตร์ทางด้านดนตรีและการรับรู้ ทฤษฎี แนวคิด ของการรับรู้ท่วงทำนอง เสียงประสาน สีสัน และรูปแบบทางดนตรี รวมถึงความเชื่อมโยงกับการรับรู้การเคลื่อนไหว และภาษา โดยครอบคลุมถึงดนตรีในมิติ และประเภทต่างๆ |
2 (2-0-4) |
202 109 |
ดนตรี สังคม และความเป็นอยู่ที่ดี พัฒนาการของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านดนตรีกับการสร้างเสริมสุขภาพ และดนตรีในการสร้างสังคมดุลยภาพ แนวคิดและทิศทางการพัฒนาของศาตร์ นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และโครงการปฏิบัติการการบูรณาการศาสตร์ทางด้านดนตรีกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และสังคมดุลยภาพ |
2 (1-2-3) |
202 110 |
เรื่องคัดเฉพาะทางดนตรี หัวข้อพิเศษที่กำหนดขึ้นนอกเหนือจากรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับดนตรี หรือบูรณาการร่วมกับศาสตร์อื่น ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน |
2 (1-2-3) |
202 111 |
ทัศนมิติดนตรีนานาชาติ ปรากฏการณ์ทางดนตรีในสังคมปัจจุบัน หัวข้อการศึกษาอิสระซึ่งเป็นที่สนใจและมีผลต่อการพัฒนาโลกทัศน์ของผู้เรียนในระดับนานาชาติ และการปฏิบัติการโครงการ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน |
2 (1-2-3) |
วิทยานิพนธ์ | ||
---|---|---|
203 101 |
วิทยานิพนธ์ การวิจัยในระดับสูงที่เป็นการค้นคว้า และสร้างความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบในศาสตร์ของดนตรีในระดับนานาชาติตามรูปแบบและวิธีการวิจัย ภายใต้การกํากับดูแล การควบคุม และการให้คําปรึกษา ของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ การสอบความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ทํารายงานวิทยานิพนธ์ และทําการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ตามข้อกำหนดของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา |
36 หน่วยกิต |
203 102 |
วิทยานิพนธ์ การวิจัยในหัวข้อด้านดนตรีตามรูปแบบและวิธีการวิจัยภายใต้การกํากับดูแล การควบคุม และการให้คําปรึกษา ของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ การสอบความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ทํารายงานวิทยานิพนธ์ และทําการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ตามข้อกำหนดของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา |
12 หน่วยกิต |