- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับสถาบัน
- เรียนที่สถาบันดนตรี
- บริการวิชาการ
- ข่าวสาร
- E–Service
- ติดต่อสถาบัน
PGVIM International Symposium 2024 วันที่ 21 - 24 สิงหาคม 2567 มาในธีม “Dreamland แดนสนทนา” ประชุมวิชาการนานาชาติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ชวนทุกคนมาเพลิดเพลินไปกับเรื่องอัพเดตประจำปี ว่า 365 วันที่ผ่านมา ดนตรีในโลกใบนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
แขกปีนี้ มานำเสนอในเรื่องทั้งเชิงความคิดและเรื่องราวที่จะเอามาแชร์ จากเดิม ที่เรามักจะเห็นหนึ่งคนครองเวที ประกาศถึงความรู้ที่เขามี แต่วันนี้ เราเห็นถึงการรวมกลุ่มกันของคนต่างรุ่น ต่างประสบการณ์ มาชวนให้คนดนตรีได้คิดได้ทำอะไรใหม่ๆ และตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่ เพื่อให้ดนตรีของเราก้าวหน้าไปสู่โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดหย่อน
แต่ละวัน แต่ละ Session มีทั้งการนำเสนอโดย Keynote จากต่างสถาบันฯ ไม่ว่าจะเป็น Universität Mozarteum, Conservatoire national supérieur de musique et de danse de Lyon, Royal Conservatoire of Scotland ไปจนถึง Panel Discussion จาก Royal Irish Academy of Music, Queensland Conservatorium, Griffith University และ Yong Siew Toh Conservatory และสถาบันอื่นๆ อีกมากมาย ในประเด็นที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ดนตรีในสถาบันการศึกษา แต่ไปถึงดนตรีต่างๆ ในโลก และไม่ใช่แค่ดนตรีคลาสสิกบนเวที แต่ไปถึงที่ต่างๆ ที่ดนตรีไปสร้างความเปลี่ยนแปลง และธีมปีนี้ ปีที่ 11 Music: Conflict and Harmony “Dreamland” จะชวนให้ทุกคนได้มาลองคิดกันดูว่า ดนตรี มีอยู่ด้วยความสันติและ/หรือ ความขัดแย้ง สิ่งที่เรียกว่าผสมผสานกลมกลืน จะอยู่ได้หรือไม่โดยขาดช่วงเวลาแห่งการขัดแย้งและปรับตัว หลายหัวข้อที่นำเสนอ เลือกที่จะพูดถึงดนตรีในฐานะของเครื่องมือของการประสานความขัดแย้ง ในขณะที่หลายผลงาน ก็นำเสนอถึงธรรมชาติของดนตรีที่งดงามได้เพราะการสร้างสมดุลย์ระหว่างความลงตัวและความขัดแย้ง ซึ่งมิติของความแตกต่าง ก็ไม่ได้กล่าวถึงแต่เพียงแค่ความแตกต่างทางดนตรี สังคม วัฒนธรรม แต่รวมไปถึงสภาวะของมนุษย์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ดังตัวอย่างงานโอเปราขนาดย่อมเรื่องใหม่ของ YST และงานสร้างสรรค์ของ Seoul National University ที่จะถูกนำเสนอในระหว่างงานเช่นกัน
นอกจากเพื่อนๆ จากสถาบันในต่างประเทศ PGVIM ยังได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์จากอีกหลายมหาวิทยาลัยในประเทศเช่น ม.ศิลปากร, ม.เชียงใหม่ ม.มหิดล และม.ธรรมศาสตร์ มาร่วมนำเสนอและเป็น Panel ใน Session ที่มีประเด็นหลากหลาย ทั้งหมดก็เพื่อจะหาแนวทางในการสร้าง “Dreamland” ของคนดนตรี ที่เสียงแตกต่างและคนหลากหลาย จะสามารถมาสร้าง Conflict และ Harmony ร่วมกันได้
สุดท้าย จากเดิมที่คิดว่า 10 Concert ในหนึ่งวันมันจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ปีนี้ มันเกิดขึ้นอีกครั้ง! และที่น่าตื่นเต้น ก็คือส่วนใหญ่เป็นผลงานของคนรุ่นใหม่ เป็นวงที่เพิ่งรวมตัวเพื่อมาทำการทดลองร่วมกัน หรือเป็นวงชั้นแนวหน้าระดับนานาชาติ แต่อายุรวมของสมาชิกไม่น่าเกิน 30 แบบ Tacet(i) ไปจนถึงทีม Modular Synth แบบทยอย New Music ที่จะมาโชว์ผลงานการสร้างดนตรีที่ล้ำไม่เหมือนใคร